การวิเคราะห์สาเหตุเชิงพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตหญิง ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อภิณัฐ ช้างกลาง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • พิษนุ อภิสมาจารโยธิน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสูบบุหรี่, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตหญิงระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2-4 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 373 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้วัดประกอบด้วยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า นิสิตหญิงมีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 14.15) การหาซื้อง่ายอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}= 1.79) ความสามารถในการเข้าถึง อยู่ในระดับ น้อย (gif.latex?\bar{X}= 1.57) การสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}= 1.52) พฤติกรรมการสูบบุหรี่อยู่ในระดับน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 1.42) นอกจากนี้ การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การหาซื้อได้ง่ายและความสามารถในการเข้าถึงกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.710, 0.601 ตามลำดับ) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.628) สรุปสาเหตุเชิงพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตหญิง ได้แก่ ปัจจัยนำ คือ ข้อมูลส่วนบุคคลและความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ปัจจัยเอื้อ คือ การหาซื้อได้ง่ายและความสามารถในการเข้าถึงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปัจจัยเสริม คือ การได้สนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร.

จอมภัค คลังระหัด, ชนนิกานต์ บุญนาค, และลลิตา เรืองวิไลเวทย์. (2550). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาหญิง. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐพัฒน์ ชยาวิวัฒนาวงศ์. (2553). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาชาย มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี (รายงานผลการวิจัย). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธราดล เก่งการพานิช. (2551). ผู้หญิงกำลังจะตายเพราะบุหรี่. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.thaihealth.or.th/

ธราดล เก่งการพานิช, มณฑา เก่งการพานิช, และลักขณา เติมศิริกุลชัย. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิภาวรรณ หมีทอง. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บงกช ศิลปานนท์, และภานุพันธ์ ลาภรัตนทอง. (2556). แนวทางการลดละการสูบบุหรี่ของนักศึกษาหญิง มทร.ล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรงของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2559). การจัดการชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวสตรีเยาวชนและครอบครัวพิษณุโลก. พิษณุโลก: ภาควิชาสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มูลนิธิการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. (2559). สื่อรณรงค์เลิกบุหรี่. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.smokefreezone.or.th/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.nso.go.th/

สุขุมาลย์ ประสมศักดิ์. (2552). ปัจจัยและผลที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซ็นต์จอห์น.

สุวรรณี จรูงจิตรอารี, วัฒนารี อัมมวรรธน์, และจตุพร สระน้อยวิชิต. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้หญิงในชุมชนเมือง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(3), 281-295.

อาภารัตน์ อิงคภากร. (2557). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Daniel, W. (1995). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences (7th ed). New York: Wiley.

Green, Lawrence W., & Krueter, Marshall. (1999). The precede/proceed. Retrieved December 6, 2016, from http://www.infosihat.gov.my/infosihat/artikelHP/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์