หลักส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย
คำสำคัญ:
ส่วนได้เสีย, ประกันวินาศภัย, ประกันชีวิตบทคัดย่อ
หลักส่วนได้เสียเป็นหลักพื้นฐานอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาประกันภัยทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย ทั้งนี้ ตามกฎหมายไทยนั้นได้มีการบัญญัติหลักส่วนได้เสียเอาไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 ซึ่งบัญญัติแต่เพียงว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้เท่านั้น ไม่ได้มีการอธิบายใด ๆ เพิ่มเติม ซึ่งในสัญญาประกันภัย หากบุคคลใด ๆ ก็ดี ต้องการที่เอาประกันภัย บุคคลนั้น ๆ จะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่จะเอาประกันภัยไว้หรือไม่ ซึ่งกรณีสัญญาประกันวินาศภัยนั้น ไม่ได้บัญญัติถึงความหมายของกรรมสิทธิ์เอาไว้ชัดแจ้งเกี่ยวกับหลักส่วนได้เสีย ส่วนกรณีสัญญาประกันชีวิตนั้น ก็ไม่ได้บัญญัติถึงการมีส่วนได้เสียเอาไว้อย่างชัดแจ้ง บทความนี้จึงมุ่งอธิบายถึงความเป็นมา นิยามความหมาย ตลอดจนสาระสำคัญต่าง ๆ ของหลักส่วนได้เสียเอาไว้เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างคู่สัญญาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอันเป็นจุดมุ่งหมายตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างสูงสุด
References
จิตติ ติงศภัทิย์. (2559). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จำรัส เขมะจารุ. (2558). กฎหมายลักษณะประกันภัย. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์ ๕๐.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2548). ประกันภัยพร้อมด้วยตัวอย่างข้อสอบและแนวคำตอบ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2556). กฎหมายว่าด้วยประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.
สิทธิโชค ศรีเจริญ. (2528). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันภัย. กรุงเทพฯ: สมาคมประกันวินาศภัย.
สุภาพ สารีพิมพ์. (2548). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Mehr, Robert I., & Cammack, Emerson. (1980). Principle of Insurance. Homewood, IL: Richard D. Irwin, Inc.
The Life Insurance Act, Section 1 (1774)