พัฒนาการของกลุ่มทุนและเครือข่ายธุรกิจท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • ศุภการ สิริไพศาล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000

คำสำคัญ:

กลุ่มทุนท้องถิ่น, เครือข่ายธุรกิจ, พัฒนาการ, ภาคใต้

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการวิจัยเรื่องพัฒนาการของกลุ่มทุนและเครือข่ายธุรกิจท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเป็นมาและพัฒนาการของกลุ่มทุนและเครือข่ายธุรกิจในภาคใต้ของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จและความล้มเหลวของตัวอย่างกลุ่มทุนและธุรกิจท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ทั้งการใช้ข้อมูลเอกสารและการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า ภาคใต้เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณที่มีลักษณะเป็นพื้นที่เปิด มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีเมืองท่าชายฝั่งที่เหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐานและค้าขายของผู้คน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พื้นที่ภาคใต้เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณที่มีปฏิสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างผู้คนทั้งภายในและภายนอก ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและการค้าจึงทำให้เจ้าผู้ปกครองท้องถิ่นมีความร่ำรวยมั่งคั่งและทำให้อำนาจรัฐส่วนกลางพยายามที่จะแทรกแซงและกระชับอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมาโดยตลอด กลุ่มทุนแรกที่มีบทบาทในภาคใต้ คือ บรรดาเจ้าผู้ปกครองและขุนนางท้องถิ่น จากนั้นเมื่อสยามเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาเบาริง อำนาจทางเศรษฐกิจในภาคใต้ได้ถูกเปลี่ยนมือไปอยู่ที่กลุ่มทุนตะวันตก กลุ่มทุนขุนนางจากส่วนกลางและกลุ่มทุนจีนที่เข้ามามีบทบาทแทนที่ตามลำดับ กระทั่งภายหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กลุ่มทุนขุนนางและทุนตะวันตกถอนตัวออกไปตามกระแสเศรษฐกิจชาตินิยม คงเหลือแต่กลุ่มทุนจีนในพื้นที่ที่ได้พัฒนาและวางเครือข่ายทางธุรกิจโดยร่วมมือกับผู้ประกอบการในท้องถิ่นภายใต้นโยบายส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากภาครัฐส่งผลให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่ในท้องถิ่นภาคใต้ขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งธุรกิจการเกษตร การค้าปลีกค้าส่ง การเงิน การบริการและการท่องเที่ยว เป็นต้น กระบวนการสะสมทุนและขยายเครือข่ายธุรกิจในภาคใต้ ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เติบโตและหวือหวา กระทั่งมาสะดุดลงเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศช่วงระหว่าง พ.ศ. 2539-2543 มีผลทำให้การเติบโตของกลุ่มทุนท้องถิ่นหลายกลุ่มหยุดชะงักและหลายธุรกิจปิดตัวหรือเปลี่ยนมือไป ยกเว้นกลุ่มที่มีการปรับตัวทางธุรกิจหรือมีเครือข่ายที่มั่นคงแข็งแรงทำให้สามารถยืนหยัดอยู่ได้และกลายเป็นธุรกิจเอกลักษณ์ของท้องถิ่นในภาคใต้ปัจจุบัน

References

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2550). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

ญาดา ประภาพันธ์. (2524). ระบบเจ้าภาษีนายอากรสมัยกรุงเทพฯยุคต้น. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

เตช บุนนาค. (2532). การปกครองระบอบมณฑลเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435–2458. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). รายงานสภาวะเศรษฐกิจส่วนภูมิภาค ภาคใต้ (เอกสารรายงานประจำปี). กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2535). ทุนสิงคโปร์ : การผูกขาดตลาดยางพาราและดีบุกไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานะ ขุนวีช่วย. (2558). ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเข้าถึงทรัพยากรเขา-นา-เลในนครศรีธรรมราช. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(2), 111.

ยงยุทธ ชูแว่น. (2534). อำนาจทางการเมืองในความสืบเนื่องบทบาทการค้าของเมืองสงขลา ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 (เอกสารประกอบการสัมมนา). สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา.

วรนันท์ จันทรัศมี. ศูนย์การค้าไดอาน่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา. (26 กันยายน 2559). บทสัมภาษณ์.

ศุภกร พรายแสง. ห้างหุ้นส่วนจำกัดเครื่องแกงก้านยาว อ.เมือง จ.พัทลุง. (26 พฤศจิกายน 2559). บทสัมภาษณ์.

ศุภการ สิริไพศาล. (2550). จีนหาดใหญ่ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและสังคม. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สงบ ส่งเมือง. (2525). ท้องถิ่นนิยมกับปัญหาการรวมชาติสมัยรัชกาลที่ 5 และผลกระทบที่มีต่อปัญหาการเมืองการปกครองปัจจุบัน : ศึกษาเฉพาะกรณีภาคใต้ (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, ดิลก วุฒิพาณิชย์, และประสิทธิ์ ชิณการณ์. (2544). จีนทักษิณวิถีและพลัง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2548). ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน ทิศทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ (บ.ก.). (2559). มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ศยาม.

Hong Lysa. (1984). Thailand in the Nineteenth Century. Singapore: Institute of SEA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์