ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตระหนักในเรื่องความงามและพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานของผู้หญิงไทย

ผู้แต่ง

  • พิษนุ อภิสมาจารโยธิน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

ความตระหนักในเรื่องความงาม, พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตระหนักเรื่องความงามและพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานของผู้หญิงไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้หญิงไทย จำนวน 400 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนทางสังคม ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 มีความตระหนักในเรื่องความงามในระดับมากโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.61 คิดเป็นร้อยละ 65.37 มีพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.87 และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า อายุ การศึกษา รายได้และเหตุผล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ความตระหนักและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความตระหนักและการสนับสนุนทางสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์ การทำนาย (R2) เท่ากับ 0.487 ซึ่งสามารถทำนายพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานได้ร้อยละ 48.70

References

กชพรรณ วิลาวรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสําอางประเทศเกาหลีประเภทผลิตภัณฑ์บํารุงผิวหน้า (SKIN CARE) สําหรับผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง. (2555). หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตเครื่องสําอาง (Good Manufacturing Practice:GMP) พ.ศ. 2537. นนทบุรี: สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

เกวลี ปะตุละ. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสําอางของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกษม เพ็ญภินันท์. (2550). สู่พรมแดนความรู้เรื่องวัฒนธรรมบริโภค: ความเป็นปกติวิสัยของการบริโภควัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน ใน เกษม เพ็ญภินันท์ (บ.ก.). หนังสือรวมบทความจากการประชุมประจําปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 5 : วัฒนธรรมบริโภคบริโภควัฒนธรรม. (น. 1-92). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2553). สถิติร้องเรียนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2553. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2550). ปฏิบัติบริโภค: จากสิ่งของฟุ่มเฟือยมาสู่สิ่งจําเป็น. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

พรชนัน สุขเจริญชัยกิจ. (2552). การเลือกเครื่องสําอางทาฝ้าทําให้หน้าขาวของวัยรุ่น กรณีศึกษา อําเภอบานโป่ง จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพร ลีลาพรพิสิฐ. (2547). เครื่องสําอางสําหรับผิวหนัง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พิไลลักษณ์ ชื่นสุขศรี. (2556). การศึกษาการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสําอางประเภทผลิตภัณฑ์รองพื้นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2557). รูปแบบการใช้การแพทย์แบบผสมผสานของผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 34(3), 171-189.

มัลลิกา มัติโก. (2545). ความงามใบหน้าผู้หญิงไทย : สังคมสร้างการแพทย์ครอบครอง. นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิระยา สัมมาวาจ. (2550). วิจัยเผยหญิงไทยตกอยู่ในวังคนสวยซ่อนอายุ. สืบค้น 7 มกราคม 2558, จาก http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9500000148773

สมศรี เผ่าสวัสดิ์. (2550). นักศึกษาหลงรูปร่างมากกว่าสมอง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2551). ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ชี้แจง ประกาศกระทรวงสาธารณสุขและประกาศคณะกรรมการเครื่องสําอาง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. (2551). การส่งตัวอย่างเครื่องสําอางตรวจวิเคราะห์ ปี พ.ศ. 2550-2551 : บันทึกรายงานผลเครื่องสําอาง. ราชบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี.

สำนักทะเบียนกลาง. (2557). จํานวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556: ราชกิจจานุเบกษา 4 มีนาคม 2557. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.

สิทธิรัตน์ น้อยสง่า. (2544). พฤติกรรมการใชสื่อมวลชนและการเรียนรู้ทางสังคมของนักเรียนวัยรุ่นโรงเรียนชุมชนบานน้ำฆ้อง อําเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิชาติ รุ่งเมฆารัตน์. (2550). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสําอางทาสิว ทาฝ้า ทําให้หน้าขาว ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและสาวโรงงาน ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ. อำนาจเจริญ: กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอำนาจเจริญ.

อุ่นใจ เจียมบูรณะกูล. (2549). วาทกรรมความสวยกับการต่อรองอัตลักษณ์วัฒนธรรมบริโภค. วารสารสังคมศาสตร์, 2(1), 134-167.

Best, John W. (1981). Research in education. London: Prentice-Hall.

Throndike, R.N., Cunninghan, C.K., & Hagen, E.T. (1991). Measurement and evaluation in psychology and education. Singapore: Macmillan.

Yamane, T. (1967). Statictis : an introduction analysis. Tokyo: Harper International Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์