การสร้างแบบวัดคุณลักษณะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เปรมยุดา รัตนบุรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900
  • พิกุล เอกวรางกูร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900
  • สุนทรา โตบัว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900

คำสำคัญ:

แบบวัด, คุณลักษณะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, ประถมศึกษาปีที่ 6

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดคุณลักษณะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ เพื่อสร้างแบบวัดและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด สร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายของคะแนนจากแบบวัด และสร้างคู่มือการใช้แบบวัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพและพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัด  คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 682 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน แบบวัดที่สร้างขึ้นมาประกอบด้วยคำถาม 34 ข้อ ที่มุ่งวัดคุณลักษณะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4 องค์ประกอบ คือ การอนุรักษ์น้ำ การอนุรักษ์ป่าไม้ การอนุรักษ์ดิน และการอนุรักษ์พลังงาน ที่มีข้อคำถามเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก และสร้างตัวเลือกตามทฤษฏีด้านจิตพิสัยของ Krathwohl, Bloom, and Masia ทั้ง 5 ขั้น โดยแต่ละตัวเลือกมีคะแนนที่แตกต่างตั้งแต่ 1-5 คะแนน ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดที่สร้างขึ้นมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้วัดคุณลักษณะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช ดังนี้ 1) ค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถามโดยการทดสอบสถิติ t-test มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2) ความตรงเชิงโครงสร้าง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนรวมแต่ละองค์ประกอบกับคะแนนรวมทั้งฉบับมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรวมแต่ละองค์ประกอบ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3) ความเที่ยงของแบบวัด (Reliability) จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach พบว่าแบบวัดมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 4) ความตรงตามสภาพ สถิติที่ใช้ t-test พบว่าแบบวัดมีความตรงตามสภาพ โดยกลุ่มที่รู้ว่ามีคุณลักษณะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงและต่ำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายของแบบวัดในรูปของคะแนนมาตรฐานทีปกติทั้งฉบับมีค่า T34-T65 และ 6) คู่มือการแบบวัดที่จัดทำขึ้นมีความเป็นปรนัย มีความเหมาะสม สะดวกในการนำไปใช้ อ่านเข้าใจง่าย และมีส่วนประกอบสำคัญครบถ้วน

References

กนกพร อิศรานุวัฒน์. (2540). ความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กุลวดี ราชภักดี. (2545). ความตระหนักและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษาในหอพัก สถาบันอุดมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

โกศล มีคุณ. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดทางจิตแบบพหุจิตลักษณะด้านความมีเหตุผล (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

คณะกรรมการการผลิตและบริหารชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินผลการศึกษา. (2546). การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

จันทนี เกียรติโพธา. (2542). ความตระหนักในมลพิษทางอากาศของตำรวจจราจรกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2552). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. สืบค้น 12 เมษายน 2559, จาก http://www.watpon.com

ดุจเดือน พันธุมนาวิน, และงามตา วนินทานนท์. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดทางจิตแบบพหุมิติ ด้านการมีภูมิคุ้มกันตน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ธิดารัตน์ สุภาพ. (2548). ความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประชาชนในอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นงลักษณ์ แสงสว่าง. (2546). ผลของการเรียนแบบร่วมมือต่อความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นารีกานต์ พราหมนก. (2544). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ความตระหนักของผู้บริหารและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิพนธ์ สิงห์สมาน. (2534). การศึกษาความตระหนักถึงผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตการศึกษา 11 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างและการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: หจก.พี.เอ็น.การพิมพ์.

ปิติ กาลธิยานันท์. (2550). ความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พรทิพย์ ไชยโส. (2549). เอกสารคำสอนวิชา 153522 การสร้างและการพัฒนาแบบสอบมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ฮาส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2549). ปรัชญาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิบูลย์ สุรินทร์ธรรม. (2537). ความตระหนักและพฤติกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอเมืองลำพูน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิมลพรรณ อาภาเวท, และฉันทนา ปาปัดถา. (2554). ความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อปัญหาสภาวะโลกร้อนของประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ศรายุทธ ธรรมโชติ. (2546). ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำบางปะกง กรณีศึกษา เขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริกาญจน์ ศิริเลข. (2551). ความตระหนักต่อปัญหาภาวะโลกร้อนของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภมาส ไทยถาวร. (2553). แบบวัดความตระหนักในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. (2553). การพัฒนาบุคลิกภาพ. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://socialscience.igetweb.com/articles/41909262/igetweb%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8F%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุภาพร ครุสารพิศิฐ. (2550). การแสวงหาข่าวสาร ความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล มูลศรี. (2536). ความตระหนักของครูประถมศึกษาในการป้องกันมลพิษทางอากาศและเสียงจากการจราจรบนทางด่วนขั้นที่ 1 (เฉลิมมหานคร) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อมรศักดิ์ วงศาวณิชย์กิจ. (2546). ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมประหยัดพลังงานหารสอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุบล เลี้ยววาริณ. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดแบบพหุมิติของจิตลักษณะด้านการรับรู้คุณความดี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Krathwohl, D.R., Bloom, B.S., & Masia, B.B. (1964). Taxonomy of educational objectives: Handbook II: Affective domain. New York: David McKay Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์