การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
คำสำคัญ:
การเรียนแบบร่วมมือ, ชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการเรียนแบบร่วมมือ และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบร่วมมือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา SWE-204 (การสร้างซอฟต์แวร์) 2) จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบทดสอบกลางภาควิชา SWE-204 2) แบบทดสอบปลายภาควิชา SWE-204 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชา SWE-204 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกับการเรียนแบบร่วมมือ และ 5) ชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระยะเวลา จำนวน 4 เดือน ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาที่สอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการเรียนแบบร่วมมือมีผลทำให้นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้นกว่าที่ผ่าน ๆ มา นั่นคือ มีนักศึกษาได้รับเกรด A ร้อยละ 18.18 เกรด B+ ร้อยละ 9.09 เกรด B ร้อยละ 9.09 เกรด C+ ร้อยละ 18.18 และมีนักศึกษาได้รับเกรด C ร้อยละ 22.73 รวมแล้วมีนักศึกษาที่ได้รับเกรดไม่ต่ำกว่า C ร้อยละ 77.27 ซึ่งมีค่าสูงกว่าสมมติฐานของการวิจัย 2. ด้านความพึงพอใจของนักศึกษาสรุปได้ดังนี้ นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก ( = 3.95 , = 0.1) คิดเป็นร้อยละ 79.06 รองลงมา คือ นักศึกษามีความพึงพอใจในด้านผู้สอนในระดับมาก ( = 3.92 , = 0.24) คิดเป็นร้อยละ 78.4 ส่วนความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก ( = 3.63 , = 0.06) คิดเป็นร้อยละ 72.6 และทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาประเมินโดยนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลางเกือบดี ( = 3.33 , = 0.12) คิดเป็นร้อยละ 66.58 และทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาประเมินโดยผู้สอนอยู่ในระดับดี ( = 3.66 , = 0.11) คิดเป็นร้อยละ 73.13
References
กรมวิชาการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
วรปภา อารีราษฎร์, ธรัช อารีราษฎร์, อภิชาต เหล็กดี, และธเนศ ยืนสุข. (2558). ผลการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมด้วยภาษาซี โดยใช้เรสพ์-เบอร์รี่ไพ. สืบค้น 2 สิงหาคม 2559, จาก http://tmrmu.net/admin/up_file/admin20151222031202.pdf
วาณี ภูเสตว์. (2542). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี.
สายสุนีย์ เจริญสุข. (2557). การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่าง รายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(1). สืบค้น 1 สิงหาคม 2559, จาก http://www.tcithaijo.org/index.php/EAUHJsci/article
สุรพันธ์ ตันศรีวงษ์. (2538). วิธีการสอน. กรุงเทพฯ: สยามสปอร์ตซินดิเคท.