ปัจจัยเอื้อต่อพฤติกรรมสารสนเทศที่ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าด้านการผลิตและการตลาดของเกษตรกรไทย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสารสนเทศ, เกษตรกรไทย, การสร้างมูลค่าเพิ่มบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “รูปแบบพฤติกรรมสารสนเทศของเกษตรกร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเอื้อต่อพฤติกรรมสารสนเทศที่ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าด้านการผลิตและการตลาดของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสร้างทฤษฎีฐานราก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและจดบันทึกภาคสนาม พื้นที่ศึกษา ได้แก่ ตำบลนาดี (นามสมมุติ) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 7 คน เจ้าหน้าที่จากองค์กรภาครัฐที่รับผิดชอบในพื้นที่ 4 คน และเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาด 15 คน ซึ่งเป็นการเลือกตัวอย่างเชิงทฤษฎี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้แนวทางการสร้างทฤษฎีฐานรากโดยกระบวนการตีความและสร้างมโนทัศน์จากข้อมูลและหาความเชื่อมโยงระหว่างมโนทัศน์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงทฤษฎี ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยเอื้อต่อพฤติกรรมสารสนเทศของเกษตรกร มี 3 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยส่วนบุคคล เป็นคุณลักษณะของแต่ละบุคคลที่เอื้อต่อพฤติกรรมสารสนเทศ ประกอบด้วย บทบาท ระดับการศึกษา อุปนิสัย ความกระตือรือร้น การตระหนักรู้ การเรียนรู้ การรู้สารสนเทศ การรับรู้ข่าวสาร ความสามารถในการใช้ไอซีที การต้องการความยอมรับทางสังคม และการได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น 2. ปัจจัยด้านแหล่งสารสนเทศ เป็นลักษณะของแหล่งสารสนเทศที่เอื้อต่อการเข้าถึงสารสนเทศของเกษตรกร ประกอบด้วยลักษณะดังนี้ แหล่งสารสนเทศอยู่ใกล้และค้นได้สะดวก ง่าย และรวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายน้อยหรือแทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้ มีสารสนเทศที่สอดคล้องกับสภาพหรือวิถีการผลิต และเป็นแหล่งที่มีแนวการปฏิบัติเป็นเลิศ 3. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย วัฒนธรรมสารสนเทศ ได้แก่ สื่อมวลชน ไอซีที และภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนวัฒนธรรมชุมชน ได้แก่ ภาวะผู้นำ และการพึ่งพาตนเอง และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมด้านสุดท้ายคือองค์กรภาครัฐกับการส่งเสริมการเกษตร
References
กรมศุลกากร. (2557). Customs Report กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้น 23 มิถุนายน 2557, จาก http://www.customs.go.th/wps/wcm/connect/Libraty+cus501th/InternetTH/11/11_2/543C40AE506D6D5B1F4898AD8CC8F1E2
ธนัญชย์ ดำขำ. (2544). ความต้องการสารสนเทศผ่านสื่อมวลชนและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของเกษตรกรในสมาคมสวนส้มร่วมพัฒนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมพร พุทธาพิทักษ์ผล. (2546). ผู้ใช้สารสนเทศ ใน ประมวลสาระชุดวิชา สารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 9, (น. 129-133). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อภิญญา สีน้อยขาว. (2543). สภาพ ปัญหา และความต้องการใช้สารสนเทศการเกษตรของเกษตรกร อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิยาลัยมหาสารคาม.
Chatman, E.A. (1991). Life in a small world: Applicability of gratification theory to information-seeking behavior. Journal of the American Society for Information Science, 42, 438-449.
Cheuk, B.W. (1998). Modelling the Information seeking and use process in the workplace. Information Researc, 4(2), Retrieved from http://InformationR.net/ir/4-2/isic/cheuk.html
Glaser, B.G. (1992). Basics of grounded theory analysis: Emergence vs forcing. Mill Valley, CA.: Sociology Press.
Leckie, J., Pettigrew, E., & Sylvain, C. (1996). Modeling the information seeking of professionals: a general model derived from research on engineers, health care professionals and lawyers. Library Quarterly, 66(2), 161-193.
Mansourian, Y. (2006). Adoption of grounded theory in LIS research. Journal of New Library World, 107, 386-402.
Spink, A., & Cole, C. (2006). Human information behavior: Integrating diverse approaches and information use. Journal of the American Society for Information Science and Technology, 57(1), 25-35.
Strauss, A., & Corbin, J. (1998). Basic of qualitative research: Techniques and procedures for developing grounded theory (2nd ed.). California: SAGE.
Thompson, M.L. (1997). Characteristics of information resources preferred by primary care physicians. Bull Med Libr Assoc, 85(2), 187-192.