กรอบแนวความคิดการบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทย
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, องค์กรการเงินชุมชนบทคัดย่อ
องค์กรการเงินชุมชน เป็นองค์กรการเงินระดับฐานรากที่มีบทบาทสูงต่อการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งด้วยการสะสมทุน และพัฒนาทุนชุมชนด้านการเงินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน มีคุณลักษณะพิเศษที่เป็นการบริหารจัดการโดยคนในชุมชนเอง และเป็นแนวทางที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อลดปัญหาความยากจน และให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ผ่านกลไกการสนับสนุนและนโยบายต่าง ๆ ของรัฐ โดยเฉพาะท่ามกลางสภาวะความผันแปรทางด้านเศรษฐกิจและการปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนในสังคม รวมทั้งสภาพทางการเมืองที่ไม่แน่นอน ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของประชาชนที่มีความยุ่งยากมากขึ้น การบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชนจึงเป็นแนวทางหนึ่งต่อการดำรงอยู่ได้ในสภาวะของการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีแนวคิดของการพัฒนาและรักษาองค์กรการเงินชุมชนไว้ โดยผู้เขียนนำเสนอกรอบแนวความคิดทางการบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทย 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผู้นำ ด้านการบริหาร ด้านเครือข่าย และด้านการพัฒนาชุมชน โดยใช้วิธีการศึกษา คือ การสำรวจเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
References
คณะอนุกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). ทุนชุมชนกับการขับเคลื่อนประเทศไทย 25 กรณีตัวอย่าง องค์กรการเงินชุมชน กระบวนการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นด้วยองค์กรการเงิน : เอกสารประกอบการสัมมนา. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
ณัฐนรี ศรีทอง. (2552). การเพิ่มศักยภาพภาวะความเป็นผู้นำในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วังโอเดียนสโตร์.
เทศบาลตำบลเวียงพางคำ จังหวัดเชียงราย. (2555). การสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มชุมชน. สืบค้น 25 มีนาคม 2555, จาก http://www.nangnon.com/images/1206771081/4.pdf.
นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2546). การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
พลเดช ปิ่นประทีป. (2547). 40 ปี กรมการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
ภีม ภคเมธาวี, อัมพร แก้วหนู, และยินดี เจ้าแก้ว. โครงการวิจัยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรการเงินชุมชน. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
รังสรรค์ ปิติกัญญา. (2543). แนวทางการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนและเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 7(2), 148.
รังสรรค์ ปิติกัญญา. (2544). แนวทางการพัฒนาองค์กรทางการเงินชุมชนในพื้นที่จังหวัดลพบุรี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิธร บุญเพิ่ม. (2554). การวิเคราะห์ศักยภาพองค์กรการเงินชุมชนบ้านดงเจริญชัย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์ข้อมูลการเงินและการลงทุนอิสลาม. (2555). ธนาคารความรู้สู่ภูมิปัญญา จากนักคิดรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ. สืบค้น 20 ธันวาคม 2556, จาก http://www.islamicfinance.in.th/?p=1737#sthash.IvlatE2F.dpuf.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2556ก). ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วย การรับรองสถานภาพองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.codi.or.th/community_certification/index.php?option=com_content&view=article&id=102&Itemid=39&lang=en.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2556ข). ข้อมูลการรับรองสถานภาพองค์กรชุมชน. สืบค้น 15 กุมภาพันธ ์2558, จาก http://www.codi.or.th/community_certification/index.php?option=com_content&view=article&id=94%3A2009-08-31-04-52-16&catid=40%3A2009-08-29-03-52-39&Itemid=2&lang=en
สยุมพร ผลสนอง. (2550). ความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชนในจังหวัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สฤณี อาชวานันทกุล และปัทมาวดี โพชนุกูล. (2556). คู่มือองค์กรการเงินชุมชน : แนวทางการบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
สุวนิจ พิทักษ์ชาติ. 2547. ปัจจัยด้านสมาชิกที่มีผลต่อความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อารี เชื้อเมืองพาน และธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2544). โครงการเศรษฐกิจการพัฒนากลุ่มสะสมทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบนชุมชน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อุดมศักดิ์ เดโชชัย และคณะ. (2555). องค์กรชุมชนกับการบริหารจัดการทุนแบบบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน กรณีศึกษา : บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกาและบ้านดอนคา ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานผลการวิจัย). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.
Bevir, M. (2010). Democratic Governance. USA.: Princeton University Press.
Creighton. (2005). The Public participation Handbook : MakingBetter Decisions Through Citizen Involvement. USA.: Jossey-Bass.