ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาดนตรี ตามการรับรู้ของนิสิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

ผู้แต่ง

  • ปิยรัตน์ ธรรมรงค์รัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร 10600
  • มนัส วัฒนไชยยศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร 10600
  • กำจร กาญจนถาวร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา สงขลา 90000

คำสำคัญ:

การเรียนดนตรี, มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของนิสิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ที่มีต่อความพร้อมของบุคลากร บรรยากาศในห้องเรียน และสื่อการสอนวิชาดนตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมของบุคลากร บรรยากาศในห้องเรียนและสื่อการสอนตามการรับรู้ของนิสิต จำแนกตามตัวแปรเพศ ชั้นปีที่ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประสบการณ์การเรียนดนตรี และฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิต จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที F-test และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1) นิสิตเห็นว่าปัจจัยทั้งสามด้านโดยภาพรวมมีคุณภาพในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ สื่อการสอนวิชาดนตรี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ บรรยากาศในห้องเรียน และ ความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) นิสิตที่มีเพศต่างกัน มีการรับรู้ทั้งสามด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตชั้นปีที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ในด้านความพร้อมของบุคลากร และสื่อการสอนวิชาดนตรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีการรับรู้ในด้านความพร้อมของบุคลากร แตกต่างกับนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางและสูง ส่วนอีกสองด้านนิสิตมีการรับรู้ ไม่แตกต่างกัน นิสิตที่มีประสบการณ์การเรียนดนตรีน้อยและปานกลาง เห็นว่า ด้านบรรยากาศในห้องเรียนแตกต่างกับนิสิตที่มีประสบการณ์การเรียนดนตรีมาก ส่วนอีกสองด้าน นิสิตมีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน และนิสิตที่มีฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองต่ำ เห็นว่า ด้านบรรยากาศในห้องเรียน แตกต่างกับนิสิตที่มีฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองปานกลางและสูง ส่วนอีกสองด้าน นิสิตมีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน

References

เทพิกา รอดสการ. (2548). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนวิชาดนตรีของนักศึกษาวิชาเอกดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรเชษฐ์ แก่นทิพย์. (2547). ความพร้อมของบุคลากรสาธารณสุขในการปฏิบัติงานหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไอเดียร์แควร์.

อรพินทร์ ชูชม และ อัจฉรา สุขารมณ์. (2531). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบคัดเลือกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรี ปัญหาส่วนตัว ทัศนคติ และนิสัยในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาโท. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรวัฒนา ชินพันธ์. (2548). การศึกษาทัศนะของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนระบบกลุ่มใหญ่วิชาการศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Haladyna, T. (1983). “A Causal Analysis of Attitude Toward Mathematics,” Journal for Research in Mathematics Education. 14, 19-29.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Journal of Educational and Psychological Measurement. 30(3), 608.

Moos, Rudolf H. (1934). The Human Context Environment Determinant of Behavioral. Palo Alto, Calif : National Press Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์