กลวิธีการเรียนรู้ภาษาและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยทักษิณ
คำสำคัญ:
กลวิธีการเรียนรู้ภาษา, ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, นิสิตกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูง, นิสิตกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการใช้กลวิธีการเรียนรู้ภาษาของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ 2) ศึกษาระดับการใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการเรียนรู้ภาษาและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยทักษิณชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 134 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นิสิตกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงและกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ ได้จากการใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ 27 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 72 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับกลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษมีการใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ ทุกกลุ่มกลวิธี คือ การใช้กลวิธีการชดเชย กลวิธีอภิปริชาน กลวิธีทางสังคม กลวิธีทางอารมณ์ กลวิธีปริชาน และกลวิธีการจําตามลําดับอยู่ในระดับปานกลาง นิสิตโดยรวมใช้กลวิธีการชดเชยมากที่สุด ในขณะที่กลวิธีการจํามีการใช้น้อยที่สุด เช่นเดียวกันนิสิตกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงและต่ำใช้กลวิธีการชดเชยมากที่สุด และกลวิธีการจําน้อยที่สุด 2) นิสิตมีการใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง มีความสามารถในการอุปนัยมากที่สุดและความสามารถในการสังเกตและพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลน้อยที่สุด นิสิตชั้นปีที่ 2 มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง นิสิตชันปีที่ 3 มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง และนิสิตชั้นปีที่ 4 มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน 3) นิสิตกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงและต่ำมีการใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .01 4) กลวิธีการชดเชย มีความสัมพันธ์กับทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการตีความอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลวิธีทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการยอมรับข้อตกลงเบื้องต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลวิธีทางสังคมมีความสัมพันธ์กับทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการยอมรับข้อตกลงเบื้องต้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการตีความ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมส่งเสริมสุขภาพจิต. (2545). รายงานการวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบการพัฒนาทักษะชีวิตและการฝึกอบรมทักษะชีวิตในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
ณรัน มุสิกบุญเลิศ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ความสามารถในการคิดเชิงวิจารณญาณ และคุณลักษณะที่เอื้อต่อการวิจัยของนักศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดรุณี บุญวิก. (2543). การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทรงพล ศรัทธาอุดม. (2550). การสํารวจการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
นฤมล โคตรสมบัติ. (2546). กรณีศึกษาการใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใช้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ละออง จันทร์พราวแสง. (2549). กลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีพร้อมพรรณวิทยา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Abdullah, A. G. K., Alzaidiyeen, N. J. & Yee, N. M. (2010). “The practices of critical thinking component and its impact in Malaysian nurses health education,” International Education Studies. 3(1), 73 - 82. Retrieved November 19, 2010, from http://www.ccsenet.org/ies
Bayer, B. R. (1990). “What philosophy offers to the teaching of thinking,” Educational Leadership. 47(5), 55 - 60.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Hillsdale, NJ : Erlbaum.
Ennis, R. H. (1985). “A logical basis for measuring critical thinking skills,” Educational Leadership. 43(2), 44 - 48.
Ennis, R.H., Millman, J. & Tomko, T.N. (2005). Cornell Critical Thinking Test Level X and Level Z Manual. Pacific Grove, CA : Midwest.
Feuerstein, R. (1980). Instrumental enrichment: An intervention programme for cognitive modifiability. Baltimore: University Park Press.
Hedges, L.E. (1991). Helping students develop thinking skills through the problem-solving approach to teaching. Ohio : The Ohio State University.
Hughes, A. (1989). Testing for language teachers. Cambridge : Cambridge University Press.
Magno, C. (2010). “Korean students’ language learning strategies and years of studying English as predictors of proficiency in English,” TESOL Journal. 2, 39 - 61. Retrieved May 8, 2010 from http://www.tesol-journal.com
McGregor, D. (2007). Developing thinking, developing learning. New York : McGraw-Hill House.
Methinee Wongwanich Rumpagaporn. (2007). Students’ critical thinking skills attitudes to ICT and perceptions of ICT classroom learning environment under the ICT schools pilots project in Thailand. Doctoral dissertation Doctor of Education. Australia : University of Adelaide.
Nikoopour, J., Farsani, M. A. & Nasiri, M. (2011). “On the relationship between critical thinking and language learning strategies among Iranian EFL learners,” Journal of Technology & Education. 5(3), 195 - 200. Retrieved March, 5, 2012, from http://www.sid.ir/en/VEWSSID/J-pdf/129120110303.pdf
O' Malley, J. M. & Chamot, A. U. (1990). Learning strategies in second language acquisition. Cambridge : Cambridge University Press.
Oxford, R. L. (1990). Language learning strategies: What every teacher should know. USA : Heinle & Heinle.
Paul, R. & Willsen, J. (1995). “Critical thinking: Identifying the targets,” In Paul, R. (Ed), Critical thinking: How to prepare students for a rapidly changing word. Santa Rosa, CA : Foundation of critical thinking.
Rost, M., & Ross, S. (1991). “Learner strategies in interaction : Typology and teachability” Language Learning. 41(2), 235 - 273.
Stern, H.H. (1992). Issues and options in language teaching. Oxford : Oxford University Press.