ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • รอฮานิง เจ๊ะดอเล๊าะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 94000
  • ณัฐวิทย์ พจนตันติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 94000
  • Nattinee Mophan คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 94000

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และสังคมพหุวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรมโดยศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 17 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดโคกหญ้าคา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์แบบสังเกต พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ และแบบบันทึกภาคสนามวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีและนําข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกภาคสนามมาประมวลผลและเรียบเรียงในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโคกหญ้าคา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโคกหญ้าคา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 หลังการจัดการเรียนรู้แแบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโคกหญ้าคา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สามารถนําไปใช้กับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโคกหญ้าคา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 นักเรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ นักเรียนมีความกระตือรือร้น ให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรม กล้าแสดงออก มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันและยอมรับความแตกต่างของเพื่อนร่วมชั้นเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันทร์ดา พิทักษ์สาลี. (2549). ผลของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิจารณญาณต่อความสามารถในการคิดวิจารณญาณและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศึกศาสตรมหาบัณฑิต. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ณรงค์ โสภิณ. (2547). ผลการใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ธวัชชัย คงนุ่ม. (2550). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมโนมติในวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทกา คันธิยงค์. (2547). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E’s BSCS ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นันทิยา บุญเคลือบ. (2540). “มาตรฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์,” สสวท. 25(99), 7 - 12.

บัญญัติ ยงย่วน. (2550). “การใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมในสังคมพหุวัฒนธรรม,” ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 18(1 ), 1 - 14.

พรเพ็ญ หลักคํา. (2535). การพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยของเล่นและเกมทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรรัตน์ กิ่งมะลิ. (2552). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องพืช โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตำหรุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

มุจลินทร์ ผลกล้า. (2553). “วัตถุประสงค์หลัก ของพหุวัฒนธรรมศึกษา,” สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://gotoknow.org/blog/moolin/340006.

เรวัต ศุภมังมี. (2542). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีรยุทธ วิเชียรโชติ. (2521). จิตวิทยาการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อํานวยการพิมพ์.

วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. (2551). “พหุวัฒนธรรมศึกษา,” สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://www.pochanukul.com/?p=128#more

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). “การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน,” กรุงเทพฯ : สถาบันฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2547). “ความเป็นมาของการศึกษาพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es),” สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2553, จาก http://www.ipst.ac.th/biology/Articles-pic/year4th/no35/5EsThaiBio/cass24Nov.2004pdf

สุพัตรา วงศ์ษา. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรจิตา เศรษฐภักดี. (2547). ผลการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อรัญญา สถิตไพบูลย์. (2550). การพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฮัซลินดา อัลมะอาริฟีย์. (2550). ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Simsek, P. & Kabapinar, F. (2010). “The effects of inquiry-based learning on elementary students’ conceptual understanding of matter, scientific process skills and science attitudes,” Procedia Social and Behavioral Sciences. 2(2), 1190 - 1194.

Tuan, H., Chin, C, Tsai, C. & Cheng, S. (2005). “Investigating the effectiveness of inquiry Instruction on the motivation of different learning styles student,” International Journal of Science and Mathematics Education. 3, 541 - 566.

Wolf, S. J. & Fraser, B. J. (2008). “Learning environment, attitudes and achievement among middle-school science students using inquiry-based laboratory activities,” Research in Science Education. 38, 321 - 341.

Wu, H. & Wu, C. (2010). “Exploring the development of fifth graders’ practical epistemologies and explanation skill in inquiry-based learning classrooms,” Research In Science Education. 41(3), 319 - 340.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์