นโยบายแรงงานต่างชาติในตลาดแรงงานทุติยภูมิของเกาหลีใต้

ผู้แต่ง

  • สุทธิพร บุญมาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000
  • นพดล สาลีโภชน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000

คำสำคัญ:

การย้ายถิ่นแรงงานระหว่างประเทศ, แรงงานต่างชาติ, การเข้าเมือง, การว่าจ้างงาน, เกาหลีใต้

บทคัดย่อ

แรงงานต่างชาติระดับทักษะต่ำหรือกึ่งมีทักษะเป็นส่วนหนึ่งของตลาดแรงงาน ในเกาหลีใต้ตั้งแต่ ค.ศ. 2003 เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีใต้อาศัยนโยบายเปิดรับแรงงานต่างชาติให้เข้ามาทำงานในตลาดแรงงานภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (EPS) ในบทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายแรงงานต่างชาติในตลาดแรงงาน ทุติยภูมิของเกาหลีใต้ที่มีต่อการเข้าเมืองและการว่าจ้างงาน โดยอาศัยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร ทั้งนี้ ผลการศึกษา พบว่า รัฐบาลเกาหลีใต้กำหนดนโยบายแรงงานต่างชาติระดับทักษะต่ำหรือกึ่งมีทักษะโดยอาศัยเครื่องมือทางด้านอุปสงค์เป็นสำคัญ เนื่องจากรัฐบาลกำหนดให้นายจ้างเป็นผู้ยื่นเรื่องร้องขอรับสิทธินำเข้าและว่าจ้างแรงงานต่างชาติต่อรัฐบาลเกาหลีใต้ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (EPS) เพื่อควบคุมการนำเข้าและว่าจ้างแรงงานต่างชาติในตลาดทุติยภูมิเท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขผลประโยชน์ในระดับมหภาคของประเทศ ในขณะที่ชาวเกาหลีโพ้นทะเลที่ต้องการเข้ามาทำงานในตลาดแรงงานทุติยภูมิในเกาหลีใต้ รัฐบาลอาศัยเครื่องมือทางด้านอุปทานเป็นสำคัญ เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้คัดเลือกชาวเกาหลีโพ้นทะเลให้รับสิทธิเข้าเมือง เพื่อทำงานในตลาดแรงงานทุติยภูมิในเกาหลีใต้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเกาหลีใต้กำหนดนโยบายแรงงานต่างชาติเพื่อทดแทนแรงงานท้องถิ่นในตลาดแรงงานทุติยภูมิของประเทศ เพื่อควบคุมดูแลแรงงานต่างชาติที่แตกต่างกัน

References

กิริยา กุลกลการ. (2562). แรงงานไทยผิดกฎหมายในสาธารณรัฐเกาหลี: สาเหตุและแนวทางแก้ไข. Journal of HRintelligence, 14(1), 105-121.

ดุษฎี อายุวัฒน์. (2562ก). “คนอีสานย้ายถิ่น” สถานการณ์และผลกระทบ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ดุษฎี อายุวัฒน์. (2562ข). ศาสตร์และวิธีวิทยาการศึกษาการย้ายถิ่นของประชากร. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

นิมนตรา ศรีเสน. (2562). การเคลื่อนย้ายของแรงงานไทยกับสภาวะผิดกฎหมายในเกาหลีใต้. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 31(1), 145-170.

สุทธิพร บุญมาก. (2561). นโยบายการเคลื่อนย้ายถิ่นแรงงานชาวต่างชาติระดับทักษะของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์และบรูไน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุทธิพร บุญมาก. (2562). นโยบายการย้ายถิ่นระหว่างประเทศของแรงงานชาวต่างชาติระดับทักษะ: กรณีศึกษาการเข้าเมืองและว่าจ้างงานของประเทศมาเลเซีย. MFU Connexion, 8(1), 258-299.

Castles, S., & Miller, M. J. (2003). The age of migration: International population movements in the modern world (3rd ed.). New York: Palgrave Macmillan.

Massey, D., Arango, J., Hugo, G., Kouaouci, A., Pellegrino, A., & Taylor, E. (1998). Worlds in motion: Understanding international migration at the end of the millennium. New York: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-24

How to Cite

บุญมาก ส., & สาลีโภชน์ น. (2023). นโยบายแรงงานต่างชาติในตลาดแรงงานทุติยภูมิของเกาหลีใต้. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11, 78–100. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/325

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์