การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการของฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การพัฒนาตัวชี้วัด, คุณภาพบริการ, สำนักงานขนส่งจังหวัดบทคัดย่อ
ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา มุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อให้การบริการสาธารณะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มารับบริการ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการของฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา และวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะของประชาชนที่มารับบริการ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มารับบริการจากฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรคำนวณของยามาเน่ ได้จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 10 ระดับ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัย พบว่า ประเด็นที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุดในการนำมาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพบริการของฝ่ายใบอนุญาตขับรถ คือ ความเพียงพอของที่นั่งสำหรับผู้มารับบริการ รองลงมา คือ ความถูกต้องในการออกใบเสร็จรับเงิน ความสะอาดเรียบร้อยของอาคารสถานที่ และการมีป้ายแสดงรายละเอียดสถานที่ในแต่ละจุดและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการเข้ารับบริการ ตามลำดับ ส่วนประเด็นที่เห็นด้วยน้อยที่สุด คือ การออกให้บริการนอกสถานที่สำหรับองค์ประกอบตัวชี้วัดคุณภาพบริการของฝ่ายใบอนุญาตขับรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา มี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และการจัดการ องค์ประกอบที่ 2 คุณภาพการให้บริการ และองค์ประกอบที่ 3 การเชื่อมโยงทางสังคม นอกจากนี้ปัญหาและข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ระยะเวลาในการทำใบอนุญาตขับรถนานเกินไป ควรปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้ลดลงและมีประสิทธิภาพรวดเร็วเสร็จสิ้นภายใน 1 วัน รวมถึงการเพิ่มเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชนในจุดบริการต่าง ๆ มากขึ้น
References
กรมการปกครอง. (2557). สำนักทะเบียนกลาง. สืบค้น 20 ตุลาคม 2558, จาก http://www.stat.bora.dopa.go.th/stat/
ขจร ก่อเกียรติวนิช. (2551). ความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพในการบริการของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2547). แนวทางการให้บริการของข้าราชการ. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง.
จาริณี แซ่ว่อง, และจตุรภัทร จันทร์ทิตย์. (2557). ผลกระทบของการขยายตัวร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีต่อผลการดำเนินงานของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชว์ห่วย) ในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลศิษย์. (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ธนัทอร ศรีจันทร์สง่า. (2549). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของส่วนใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ กรมการขนส่งทางบก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ประดัง ปรีชญางกูร. (2538). สารจากอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ในรายงานประจำปี 2538 กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.
ปรีชญา ชุมศรี. (2556). หลักการตลาด. สงขลา: เทมการพิมพ์.
รัตติกร พิริยะพงษ์. (2549). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สุโขทัย (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พะเยา: มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา.
วิมลรัตน์ปิยนามวาณิช. (2551). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการบริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดพังงา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา. (2558). ประวัติความเป็นมา. สืบค้น 20 ตุลาคม 2558, จาก https://www.dlt.go.th/site/songkhla/m-about/2809/
สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา. (2558). สถิติขนส่ง. สืบค้น 20 ตุลาคม 2558, จาก https://www.dlt.go.th/site/songkhla/m-about/11852/
Bryman, A. (2004). Social research method (2nd ed.). New York: Oxford University Press.
Sajedinejad, A., & Hasannayebi, E. (2017). Implementation of operational city bus systems in order to organize public transportation. Geographical Researches, 31(4), 60-73.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.