การพิจารณาหลักส่วนได้เสียตามกฎหมายในสัญญาประกันชีวิต
คำสำคัญ:
ประกันภัย, หลักส่วนได้เสีย, สัญญาประกันชีวิตบทคัดย่อ
หลักส่วนได้เสียเป็นหลักการพื้นฐานอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาประกันภัยกฎหมายไทยนั้นได้มีการบัญญัติหลักส่วนได้เสียเอาไว้ในประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 โดยบัญญัติแต่เพียงว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้เท่านั้น ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นหลักกฎหมายลักษณะ เบ็ดเสร็จทั่วไปซึ่งนำมาใช้บังคับทั้งสัญญาประกันวินาศภัยและสัญญาประกันชีวิตที่มีความแตกต่างกัน บทความนี้จึงมุ่งอธิบายถึงความเป็นมา นิยาม สาระสำคัญต่าง ๆ ของหลักส่วนได้เสีย ตลอดจนการวิเคราะห์ถึงการตีความหลักส่วนได้เสีย การพิจารณาระยะเวลาการมีส่วนได้เสีย การพิจารณาราคาแห่งส่วนได้เสีย และการให้ความยินยอมของบุคคลอื่นที่ถูกเอาประกันชีวิต เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอันเป็นจุดมุ่งหมายตามเจตนารมณ์ของกฎหมายประกันภัยอย่างสูงสุด
References
จิตติ ติงศภัทิย์. (2552). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2556). กฎหมายว่าด้วยประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ทยาพร เศวตวิกุล. (2552). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกันชีวิตบุคคลอื่น ศึกษากรณีการให้ความยินยอมในการทำประกันชีวิตบุคคลอื่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธีรยุทธ ปักษา. (2562). คำอธิบายกฎหมายลักษณะประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ธุรกิจประกันชีวิต 4 เดือนเติบโต 3.25% อานิสงส์ผลตอบแทนลงทุนในหุ้นสดใส. (ม.ป.ป.). สืบค้น 27 มิถุนายน 2564, จาก https://siamrath.co.th/n/249484
สิทธิโชคศรีเจริญ. (2561). หลักกฎหมายประกันภัย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สุเมธ จานประดับ. (2556). ประมวลบทความทางวิชาการเกี่ยวกับการประกันภัย. กรุงเทพฯ: แซทโฟร์ปริ้นติ้ง.