อิทธิพลของทัศนคติและการยอมรับเทคโนโลยีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ความตั้งใจซื้อ, รถยนต์ไฟฟ้า, ทัศนคติ, การยอมรับเทคโนโลยีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่ออธิบายระดับความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา 2) เพื่อพิจารณาอิทธิพลของปัจจัยด้านทัศนคติและปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในจังหวัดสงขลา สุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) จำนวน 405 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลาอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านทัศนคติ ได้แก่ พฤติกรรมและความรู้สึก และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์และการรับรู้ถึงความเสี่ยงส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมการขนส่งทางบก. (2566). รายงานสถิติการขนส่งประจำปี 2565. สืบค้น 15 กันยายน 2566, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2567). สืบค้น 19 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.songkhla.go.th/files/com_news_develop_plan/2023-04_8732ff463c5987f.pdf
ธนดล ชินอรุณมังกร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลระบบไฟฟ้า (EV) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม). สืบค้นจาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1431/1/gs611110022.pdf
พงศ์พุฒิ การะนัด. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, บัณฑิตวิทยาลัย). สืบค้นจาก http://library.tni.ac.th/thesis/upload/files/IS%20SME%202019/Pongputh%20Garanad%20IS%20SME%202019.pdf
ภราดร ตุ่นแก้ว. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ FOMM ONE ในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม). สืบค้นจาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/878/1/gs601130348.pdf
วริษฐา ดินอุดม. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีและความตั้งใจจะใช้รถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในประเทศไทย (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). สืบค้นจาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/568493/91a574b26893a9a99f1ade6adc790993?Resolve_DOI=10.14457/TU.the.2019.799
วิศรุต ทั่งเพชร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ของกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ๊กซ์และเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพฯและปริมณฑล (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). สืบค้นจาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902030930_7972_6701.pdf
ศศิธร สุ่มหลิม, วอนชนก ไชยสุนทร, และสิงหะ ฉวีสุข. (2566). ความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 13(1), 92-104.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ตลาดรถยนต์ BEV...ตัวเลือกที่ถูกจับตามากขึ้น คาดยอดขายปี 66 เพิ่มเป็นเท่าตัวจากปี 65. สืบค้น 15 กันยายน 2566, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Bev-FB-10-01-2023.aspx
อณิษฐา ผลประเสริฐ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกความงามด้านผิวพรรณของผู้บริโภค (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). สืบค้นจาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5702030239_3561_1990.pdf
Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.
Ali, V. Z., Wong, T. K., Hanifah, H., Teoh, A. P., & Nawaser, K. (2022). Modeling electric vehicle purchase intention among generation Y consumers in Malaysia. Research in Transportation Business & Management, 43, 1-13.
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Sun, K. K., He, S. K., & Thogersen, J. (2022). The purchase intention of electric vehicles in Hong Kong, a high-density asian context, and main differences from a nordic context. Transport Policy, 128, 98-112.
United Nations Environment Program. (2023). Pollution action note. Retrieved September 15, 2023, from https://www.unep.org/interactives/air-pollution-note
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.