ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
คำสำคัญ:
สลากกินแบ่งรัฐบาล, แพลตฟอร์มออนไลน์, แรงจูงใจ, ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, การยอมรับเทคโนโลยีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และ 2) ศึกษาปัจจัยด้านประชากร แรงจูงใจ ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ประชากรในการวิจัย คือ คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยที่เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ จำนวน 385 ตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ มี 6 ปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้งาน แรงจูงใจ การให้บริการส่วนบุคคล การรักษาความเป็นส่วนตัว ราคา และอายุ โดยทั้ง 6 ปัจจัยส่งผลในทิศทางเดียวกันกับการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งนี้ปัจจัยทั้งหมดสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ร้อยละ 52.7
References
ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วี.พริ้น (1991).
ชัยวัฒน์ วงศ์เสนา. (2563). พฤติกรรมการชื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของผู้ประกอบอาชีพค้าขายในจังหวัดอุบลราชธานี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชาญชัย เมธาวิรุฬห์, และสุดารัตน์ เกลี้ยงสอาด. (2565). แบบจำลองเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการยอมรับเทคโนโลยี และความตั้งใจในการใช้บริการของลูกค้าที่ซื้อสินค้าออนไลน์กับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(4), 159-182.
ชื่นสุมล บุนนาค, และวสันต์ เจนร่วมจิต. (2561). พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของกลุ่มเจนเนอเรชั่น B, X และ Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(1), 103-122.
ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณิชาภา เทพณรงค์, และประภัสสร วิเศษประภา. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธมลวรรณ สมพงศ์. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทางออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธรรมรัตน์ ธารีรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันในประเทศไทย (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
นธิภาส จันทรศร. (2566). ปัจจัยการรู้ดิจิทัลและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตังของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
เพ็ญศิริ ผิวดี. (2555). สถิติประชากรศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศุภฤกษ์ พรหมมี. (2564). การศึกษาแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ซื้อสลากออมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สวรรยา มงคลวรเดช. (2563). ความสำคัญของหวยต่อเศรษฐกิจไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2417 - 2482 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษา จังหวัดน่านและกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
อริสา สำรอง. (2551). จิตวิทยาการตลาดและผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อังคณานนท์ เลิศสุนทรรัตน์. (2564). การตัดสินใจซื้อสลากดิจิทัลธนาคารออมสินของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. New York: John Wiley and Sons Inc.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. New Jersey: Prentice Hall.
Maslow, A. H. (1954). Motivation and personality. New York: Harper and Row.
Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly, 27(3), 425-478.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.