ศึกษาการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การใช้ข้อมูล, การบัญชี, การบริหาร, วิสาหกิจชุมชน, จังหวัดสงขลาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชน จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน จำนวนสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน และทุนจดทะเบียนของวิสาหกิจชุมชน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 35 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที และค่าทดสอบเอฟ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 30-39 ปี สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส./ปวท./อนุปริญญา มีประสบการณ์ในการทำงาน 4 ปีขึ้นไป มีลักษณะการทำบัญชีด้วยมือ และไม่ใช้โปรแกรมประยุกต์ในการดำเนินงาน มีจำนวนสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนจำนวน 21-30 คน และมีทุนจดทะเบียนของวิสาหกิจชุมชนอยู่ในทุนระหว่าง 10,000-50,000 บาท มีการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชนจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน จำนวนสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน และทุนจดทะเบียนของวิสาหกิจชุมชน ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้น ประเด็นด้านการวิเคราะห์สถานะการเงินและผลประกอบการที่แตกต่างกัน ทั้งนี้จากการศึกษาทำให้ทราบถึงปัญหา และความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชน และเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาบุคลากร และการให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนต่อไป
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2555). คู่มือบัญชีกลุ่มผู้ผลิตหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. สืบค้น 28 ธันวาคม 2565, จาก https://auditing-school.cad.go.th/download/guidebook123.pdf
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2564). การจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2566, จาก https://smartauditor.cad.go.th/km_library/detail_list/N3FSa1VjNENWSVhpa0l1dTJybzFadz09
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2555). คู่มือการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กรมสรรพากร. (2557). คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ชลกนก โฆษิตคณิน, ชนิดาภา ดีสุขอนันต์, และวรเทพ ตรีวิจิตร. (2560). ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2138-2151.
ชัยมงคล เตียวกุล. (2545). ระบบบัญชีการเงินที่เหมาะสมของกลุ่มผลิตตำบล : กรณีศึกษาตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิภา กล้าหาญ, บุษยา แก้วมรกต, และสุจิตรา จุลเวช. (2551). การใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางบัญชีของธุรกิจขนาดย่อมเพื่อกำหนดรูปแบบบัญชี : กรณีศึกษากิจการการผลิตในเขตจังหวัดนครปฐม (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 (2548, 18 มกราคม 2548), ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 319-327.
วิภาวี ศรีคะ. (2546). การจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์, และสุภชัย พาหุมันโต. (2554). การพัฒนาระบบบัญชี สำหรับกลุ่มผู้ผลิตโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 75-89.
สมชาย หาญหิรัญ. (2563). วิสาหกิจชุมชนเปลี่ยนเพื่ออยู. สืบค้น 22 มกราคม 2566, จาก https://www.thansettakij.com