การศึกษาองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ปทิตตา ติวงค์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา 90000
  • สุนทรี วรรณไพเราะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา 90000
  • อมลวรรณ วีระธรรมโม สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กรุงเทพมหานคร 10300

คำสำคัญ:

การบริหาร, โรงเรียนประถมศึกษา, การบริหารสู่ความเป็นเลิศ, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 โดยมีผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ 1) ศึกษา เอกสาร ตำรา บทความ แนวคิด ทฤษฎี รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วยการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา การบริหารสู่ความเป็นเลิศ การบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ได้องค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 9 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) ซึ่งกำหนดผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะจง เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ภายใต้องค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา การวางแผนกลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร การบริหารงานบุคคล การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานทั่วไป การจัดการสารสนเทศและความรู้ และการมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน และขั้นตอนที่ 3) การจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับนโยบาย จำนวน 2 คน ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 คน และอาจารย์หรืออาจารย์พิเศษที่สอนระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน รวมทั้งหมด จำนวน 13 คน เพื่อยืนยันองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัย พบว่า จากการสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้รูปแบบการบริหารการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ และ 31 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ 2) การวางแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ 3) การบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ 4) การบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ 5) การบริหารงานงบประมาณ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ 6) การบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ และ 7) การมุ่งเน้นนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562, 28 มกราคม). นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2562. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2563. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โด่งสยาม โสมาภา. (2557). การวิเคราะห์ปัจจัยและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อรับรางวัลพระราชทานคุณลักษณะ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 101-121.

ทรงพล เจริญคำ. (2552). รูปแบบความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นัฐฐยา พิพัฒน์นราธร, และนิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ. (2561). การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

บุณยกุล หัตถกี. (2556). รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เบญจนารถ อมรประสิทธิ์. (2558). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประจวบ จันทร. (2556). รูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ท.

ภัทรา จรรยาธรรม. (2564). การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภลักษณ์ เศษธะพานิช. (2550). การพัฒนาระบบการบริหารที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2562). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2563-2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตะวันออก.

สมกิต บุญยะโพธิ์. (2555). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมโภช นพคุณ. (2563). การบริหารราชการและการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สมาพร ลี้ภัยรัตน์. (2560). รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สันวิช แก้วมี, ศักดา สถาพรวจนา, และสมศักดิ์ จัตตุพรพงษ์. (2561). อนาคตภาพการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุกัญญา ทองทิพย์. (2562). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน.

สุชาดา บูรณะเดชาชัย. (2556). การบริหารศูนย์การเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มประเทศอาเซียน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุนิสา วิทยานุกรณ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุริยา ห้าวหาญ. (2559). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อัครพงศ์ เทพิน. (2556). รูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศในทศวรรษหน้า (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อุดม ชูลีวรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Baldrige Performance Excellence Program. (2021). 2021–2022 Baldrige excellence framework (Education): Leadership and management practices for high performance. สืบค้นจาก https://www.nist.gov/system/files/documents/2023/04/13/2022-2023-baldrige-framework-education-free-sample.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์