การพัฒนาระบบติดตามหนังสือซ่อม

Main Article Content

รัชชานนท์ รัตนะ
รักเผ่า เทพปัน
ไผททิพย์ ทับทอง
จันทร์จิรา ไชยศักดิ์

บทคัดย่อ

ระบบติดตามหนังสือซ่อม เป็นระบบที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการติดตามกระบวนการของการซ่อมหนังสือ ทำให้ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงานซ่อมหนังสือของแต่ละเล่ม และจัดเก็บข้อมูลสถิติการซ่อมหนังสือ โดยสามารถนำข้อมูลมาประกอบในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการซ่อมได้


ระบบติดตามหนังสือซ่อมถูกออกแบบและพัฒนาในรูปแบบ Web Application โดยเชื่อมโยงข้อมูลรายละเอียดของหนังสือจากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มาแสดงในระบบติดตามหนังสือซ่อม สามารถสืบค้นหนังสือจากบาร์โคด ซึ่งระบบจะแสดงผลข้อมูลและเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลาผ่านทางเว็บไซต์ ทำให้สะดวกในการเข้าใช้งาน ทั้งยังช่วยลดเวลา และขั้นตอนในการทำงานที่ซ้ำซ้อนได้เป็นอย่างดี โดยเจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องเปิดหลายโปรแกรมในการทำงานลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ ยังช่วยจัดลำดับความสำคัญหรือความเร่งด่วนในการซ่อมหนังสือแต่ละเล่มให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานซ่อมหนังสือ ในขณะซ่อมหนังสือแต่ละขั้นตอน ยังช่วยอัพเดทสถานะของหนังสือซ่อมกลับไปยังระบบหลัก เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบสถานะของหนังสือซ่อมโดยอัตโนมัติ ช่วยลดปริมาณการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและลดความผิดพลาดในการทำงานระหว่างระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  และระบบติดตามหนังสือซ่อม


จากการนำระบบติดตามหนังสือซ่อมมาใช้ในการปฏิบัติงานนั้น พบว่าผู้ใช้งานระบบมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อการใช้งาน เนื่องจากระบบสามารถตรวจสอบ ติดตามกระบวนการในการซ่อมหนังสือได้ และง่ายต่อการใช้งาน ถือเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลของทั้ง 2 ระบบข้างต้นเข้าด้วยกัน เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานได้มากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
รัตนะ ร. ., เทพปัน ร. ., ทับทอง ไ. ., & ไชยศักดิ์ จ. . (2023). การพัฒนาระบบติดตามหนังสือซ่อม. PULINET Journal, 10(2), 55–66. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PJ/article/view/209
บท
บทความวิชาการ

References

รัชชานนท์ รัตนะ. (2565). คู่มือการปฏิบัติงาน งานซ่อมหนังสือ [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ณัฐวุฒิ ปัญญาเลิศ. (2553). การประเมินผลการนำระบบการผลิตแบบลีนมาใช้ในองค์การ กรณีศึกษา : บริษัทอุตสาหกรรม ฟอก ย้อม จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร

สุริยะ เลิศวัฒนะพงษ์ชัย, เดวิด ซิลเวอร์สเตน และฟิล แซมมวล. (2562). แปลงร่างธุรกิจด้วยลีน. บริษัท บีเอ็มจี. เบรกธรู เมเนจเม้นท์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด.

Koha Library Software Community. (2022). Koha Community Database Schemas. https://schema.koha-community.org/