การประยุกต์หลักธรรมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2022 โดยมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุถึง 12,698,362 คน (19.21%) ของประชากรทั้งหมดประมาณ 66,090475 คน จากการที่มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ต่ำ กว่า 600,000 คนต่อปี (กรมกิจการผู้สูงอายุ,2566) ส่งผลให้เกิดภาวการณ์ขาดแคลนแรงงาน รัฐต้องจ่ายเงินสวัสดิการผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้นสวนทางกับการเก็บภาษีที่ลดลง องค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อแนะนำใช้กับสังคมผู้สูงวัย คือ ส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพดี มีคุณค่าทางสังคม สนับสนุนให้เป็นส่วนหนึ่งของกำลังแรงงาน มีรายได้ ซึ่งโดยหลักสำคัญ ก็คือการมีสุขภาพที่ดี โดยนำหลักธรรมมาส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยคือ “อปัณณกปฏิปทา” หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ซึ่งพระผู้มีภาคได้แสดงไว้ว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม 3 ประการ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย 1 เป็นผู้ประมาณในโภชนะ 1 เป็นผู้ประกอบความเพียร 1 (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต, 2546) การคุ้มครองทวาร หมายถึง การมีสติดูแลสุขภาพเพื่อให้เกิดความเสื่อมถอยช้า ดูแลอาหารให้ถูกต้องเหมาะสมกับวัย และมีความเพียรในการงานที่ตนเองสามารถทำได้อย่างขยันและมีจิตใจแจ่มใส จึงเป็นคนสูงวัยที่มีคุณค่า