ความฉลาดรู้ทางการเงินในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ความฉลาดรู้ทางการเงิน, สังคมผู้สูงอายุ, บูรณาการศาสตร์, ทฤษฏีทางสังคมบทคัดย่อ
การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสร้างผลกระทบในระดับบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยแรงงานที่มีภาระในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทำให้ประชากรวัยแรงงานมีแรงกดดันด้านการสร้างผลิตภาพให้ประเทศมากขึ้น ประเทศอาจขาดแคลนแรงงาน รวมไปถึงทำให้เกิดวิกฤติการคลัง จากภาระรัฐบาล
ด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ รวมไปถึงผลกระทบของผู้สูงอายุที่มีสภาวะขาดเงินออม ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการ
มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทิศทางการพัฒนาในปัจจุบันยังคงมีเพียงการใช้โครงสร้างทางสังคมจากภาครัฐ เพื่อมากำหนดพฤติกรรมให้กลุ่มคนก่อนสูงวัยได้เตรียมความพร้อม โดยการบังคับออมเพื่อเกษียณ ซึ่งบทบาทส่วนใหญ่มาจากภายนอกตัวบุคคล และเป็นภาระหน้าที่ของภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ ในรูปแบบของสวัสดิการสังคม อาทิ การมีระบบบำนาญแห่งชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและรัฐควรทำ แต่อาจยังไม่ได้มองปัญหาได้อย่างครบถ้วนและรอบด้านนัก สิ่งที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกันนั้นคือการปลูกฝังคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ดีภายในตัวบุคคลสะท้อนถึงการมีความฉลาดรู้ด้วยการมีวินัยแห่งตน (Discipline) ยังคงมีคำถามกับการพัฒนาในอนาคตที่ต้องอาศัยการเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการเตรีมความพร้อมทางการเงิน โดยต้องอาศัยการสร้างกระบวนการบางอย่างที่จะสามารถเสริมสร้างความฉลาดรู้ทางการเงินให้ประชาชนก่อนถึงวัยสูงอายุเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม
ด้วยการสังเคราะห์องค์ความรู้ร่วมกับการบูรณาการศาสตร์ทฤษฎีทางสังคม เสมือนสะพานเชื่อมให้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังความฉลาดรู้ทางการเงินที่ต้องมีการปลูกฝังถ่ายทอดตั้งแต่ยังเป็นเยาวชน ค่อยๆสะสมตามช่วงเวลาในตัวบุคคคลเสมือนเป็นการสะสมทุนมนุษย์(Human Capital) ในมุมมองของทฤษฏีเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการพัฒนา และการสร้างให้เกิดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ดีทางการเงิน เป็นความคุ้นชินในลักษณะนิสัยหรือ นิจภาพ (Habitus) สร้างให้เกิดวินัยแห่งตน (Discipline) ในมุมมองของทฤษฏีว่าด้วยการปฏิบัติ ของผู้มีความฉลาดรู้ทางการเงิน และแสดงออกมาเป็น ความรู้ทางการเงิน (Financial Knowledge) ทักษะทางการเงิน (Financial Skills) เจตคติทางการเงิน (Financial Attitude) และพฤติกรรมทางการเงิน (Financial Behavior) การบูรณาการศาสตร์ต่อยอดทฤษฎีทางสังคมจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการเรียนรู้ การเข้าใจสังคม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในตัวบุคคลเพื่อเตรียมความพร้อมในสังคมแห่งผู้สูงอายุที่เผชิญ
References
กมลชนก สกนธวัฒน์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้นจาก: https://www.dop.go.th/th/know/15/926
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559 ก). รายงานการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ:
ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559 ข). สรุปผลการสำรวจทักษะทางการเงิน (Financial Literacy).กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทยปี 2561.
กรุงเทพฯ: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินแห่งประเทศไทย.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). สรุปผลการสำรวจทักษะทางการเงิน (Financial Literacy).กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ปิแอร์ บูร์ดิเยอ. (2550). เศรษฐกิจเชิงทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์ [L' Économie des biens symboliques]
(ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข, ผู้แปล). กรุงเทพฯ:โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1994).
ประกายแก้ว ไกรสงคราม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดรู้ทางการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนปลาย: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(3), 27-40.
ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์, พัชราวลัย วงศ์บุญสิน, และเกื้อ วงศ์บุญสิน. (2567). การปันผลทางประชากรระยะที่ 3 ของประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มุทิตา ย่องไทยสง. (2566). การพัฒนาความฉลาดรู้การเงินโดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีระชาติ กิเลนทอง. (2556). การพัฒนาทุนมนุษย์ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์. สืบค้นจาก https://www.pier.or.th/abridged/2023/19/
ศุทธิดา ชวนวัน. (2565). การดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนซึ่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลายในสังคมไทย
เพื่อประเมินความเข้มแข็งและความต้องการสนับสนุนของครัวเรือน (รายงานการวิจัย).
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. สืบค้นจากhttps://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:149018
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2567). การใช้จ่ายคนสูงวัยธุรกิจต้องปรับตัวรับโครงสร้างสังคมสูงวัย. สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Elderly-Spending
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัยชุดความฉลาดรู้ (literacy). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). การเผชิญหน้า “สังคมผู้สูงอายุ” โจทย์ท้าทายภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น. สืบค้นจาก
https://resourcecenter.thaihealth.or.th/index.php/article-ncds2
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2565). ผู้สูงอายุไทยต้องปรับตัวอย่างไร? เพื่อพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Active Aging). สืบค้นจาก https://www.nxpo.or.th/th/gallery/14953/
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการศึกษาข้อสมมติเพื่อใช้ในการ
คาดประมาณประชากรของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).
สำนักนโยบายการคลัง. (2562). รายงานความเสี่ยงทางการคลัง ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2562). การเตรียมความพร้อมด้านการเงินและสุขภาพในสังคมอายุยืน. สืบค้นจาก
https://tdri.or.th/2019/08/financial-and-health-preparation-in-a-longevity-society/
สฤณี อาชวานันทกุล .(2561). Financial Literacy ไม่มี ไม่ได้แล้ว. สืบค้นจากhttps://cfl.gpf.or.th/Files/Viewer/?fileName=b07d0653-e5d5-422b-a3b7-86f3c1434496/07%2061%20aug.pdf
สมชัย จิตสุชน. (2567). ระเบิดเวลาประชากร : เกิดน้อย แก่มาก ความท้าทายอนาคตไทย. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2024/07/population-crisis
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข. (2566). การออมสู่ความยั่งยืน. สืบค้นจาก https://nida.ac.th/saving-sustainable
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. (2565). ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2565. สืบค้นจากhttps://www.samatcha.org/site/news/
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2565). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน (Financial Literacy) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. สืบค้นจาก http://academic.obec.go.th/web/images/document/1674801052_d_1.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.