สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานเทศบาลตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ชุลีพร ลักขณาพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • จินดาภรณ์ ชาวบางงาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • โสรยา สุภาผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ลัดดาวัลย์ สำราญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมในการทำงาน, ความตั้งใจลาออก, องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานเทศบาลตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานทั้งหมดของเทศบาลตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี จำนวน 66 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความตั้งใจลาออกอยู่ในระดับน้อย นอกจากนั้น ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ ความขัดแย้งในบทบาท และรางวัลและค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานเทศบาลตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนความหลากหลายของงาน ความสัมพันธ์ของผู้ที่มีส่วนร่วมปฏิบัติงาน และความอิสระในการทำงานไม่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานเทศบาลตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งนี้สามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการจัดทำนโยบายหรือกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อเป็นการจูงใจให้พนักงานคงอยู่และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการให้การบริการแก่ประชาชน

References

กรภัทร รักเดช. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออกของพนักงานในกรุงเทพมหานคร หลังสถานการณ์โควิด 19. (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพ.

กัลยา วานิชย์บัญชา (2553). การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร จำกัด.

จุฑาทิพย์ ลีลาธนาพิพัฒน์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). ความคลุมเครือในบทบาท ความขัดแย้งในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบมากเกินไปส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารบัณฑิตวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 96-107.

จุฑารัตน์ อันวิเศษ และจิราพร ระโหฐาน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานเจเนอเรชันวายบริษัทผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(1), 205-217.

ดาวเดือน โลหิตปุระ และ ชัยวัฒน์ สมศรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชน ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 167.

นันท์ธนาดา สวามิวัสสุกิจ. (2559). หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และแรงจูงใจในงานที่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังในการธำรงรักษาคนเก่งของพนักงานระดับปฏิบัติการในองค์กร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพ.

รุ่งรวี ทรัพย์เกรียงไกร. (2564). ความขัดแย้งในการทำงาน และความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการลาออกจากงานของบุคลากรในโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพ.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

สนธยา เกรียงไกร ณ พัทลุง. (2558). วัฒนธรรมองค์กรในทัศนะของพนักงานบริษัทในตำบลนิคม พัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

สุกริน ทวีสุต. (2562). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรเทศบาลนครหาดใหญ่. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

อธิพัชร์ กอบรัตนสวัสดิ์ และจุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. (2562). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานในบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), 1-17.

Garnero, P. A. T. R. I. C. K., Arden, N. K., Griffiths, G., Delmas, P. D., & Spector, T. D. (1996). Genetic influence on bone turnover in postmenopausal twins. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, 81(1), 140-146.

Klonoski, R. (2016). Defining employee benefits: A managerial perspective. International Journal of Human Resource Studies, 6(2), 52-72.

Lambert, E. G., Hogan, N. L., & Barton, S. M. (2001). The impact of job satisfaction on turnover intent: a test of a structural measurement model using a national sample of workers. The Social Science Journal, 38(2), 233-250.

Mobley, W. H. (1982). Employee turnover: Causes, consequences, and control. (No Title).

Mowday, R. T., Porter, L. W., & Steers, R. M. (2013). Employee—organization linkages: The psychology of commitment, absenteeism, and turnover. Academic Press, New York.

Nadiri, H., & Tanova, C. (2010). An investigation of the role of justice in turnover intentions, job satisfaction, and organizational citizenship behavior in hospitality industry. International journal of hospitality management, 29(1), 33-41.

Price, J. L. (1989). The impact of turnover on the organization. Work and occupations, 16(4), 461-473.

Spector, P. E., & Jex, S. M. (1991). Relations of job characteristics from multiple data sources with employee affect, absence, turnover intentions, and health. Journal of applied psychology, 76(1), 46.

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23