ปัจจัยการเป็นสถานศึกษานวัตกรรมโลกยุคใหม่
คำสำคัญ:
นวัตกรรมโลกยุคใหม่, ปัจจัยการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม, สถานศึกษาแห่งนวัตกรรมบทคัดย่อ
บทความ เรื่อง ปัจจัยการเป็นสถานศึกษานวัตกรรมโลกยุคใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมในโลกยุคใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษา รวมถึงให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรในสถานศึกษาได้เห็นความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม ทั้งนวัตกรรมทางด้านการบริหารสถานศึกษาและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพสูงสุด มุ่งเน้นการเป็นองค์กรทางการศึกษาที่มีการสร้างสิ่งใหม่ หรือมีการพัฒนาดัดแปลงสิ่งเดิมทั้งรูปแบบวิธีการทำงาน และการจัดการเรียน การสอน แล้วทำให้การจัดการศึกษาของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ ดีขึ้นในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยการศึกษาข้อมูลจากแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยของการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม พบว่า การที่สถานศึกษาจะเป็นสถานศึกษา
แห่งนวัตกรรมในโลกยุคใหม่ได้นั้น ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร2. วัฒนธรรมองค์การ 3. ระบบสนับสนุน 4. บรรยากาศองค์การ และจากปัจจัยดังกล่าว จะส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม โดยจะบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของความเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม 5 ลักษณะ ประกอบด้วย 1. การมีวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และเป้าหมาย 2. โครงสร้าง 3. บุคลากร 4. การสื่อสาร 5. การจัดการความรู้และข้อมูลข่าวสาร
References
ขวัญชนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
จักภัทสรัณย์ ไตรรัตน์. (2563) การพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรนวัตกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนในสหวิทยาเขตวิภาวดี. ใน วารสารการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.
ชวลิต ไทรรัตน์. (2563). การพัฒนาโรงเรียนสู่องค์กรนวัตกรรม: กรณีศึกษากลุ่มโรงเรียนวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. ใน การประชุมวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ 15 (น. 1903-1914). มหาวิทยาลัยรังสิต.
สมพงษ์ ธรรมทัศนานนท์. (2564). การบริหารจัดการเพื่อองค์กรทางการศึกษาที่มีนวัตกรรม. มหาสารคาม: ทศลิลา การพิมพ์.
สุริศา ริมคีรี. (2562). การพัฒนาดัชนีชี้วัดองค์กรนวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2560). รูปแบบการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Amabile, T. M., & Pratt, M. G. (2021). The dynamic componential model of creativity and innovation in organizations: Making progress, making meaning. Research in Organizational Behavior, 41, Article 100134. https://doi.org/10.1016/j.riob.2021.100134
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. McGraw-Hill.
Nonaka, I., & Takeuchi, H. (2020). The wise company: How companies create continuous innovation. Oxford University Press.
Phothong, W. (2023). Creating innovators for construct educational innovation. (P.d).
Tushman, M. L., & O'Reilly, C. A. (1996). Ambidextrous organizations: Managing evolutionary and revolutionary change. California Management Review, 38(4), 8-30.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.