พระ การบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารราชการท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ก้องเกียรติ แซ่ลิ้ม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ระบบราชการท้องถิ่น, อิทธิบาทธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารราชการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรม เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครอง และกำหนดทิศทางการปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลประชาชน มีหน้าที่จัดบริการสาธารณะ ภาครัฐจึงต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งในการบริหารงาน พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารและตรวจสอบการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่น โดยเน้นการมีแนวทางที่ชัดเจนเพื่อเสริมสร้างความคล่องตัวในการบริหารจัดการ หลักอิทธิบาทธรรม หรืออิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ความเอาใจใส่) และวิมังสา (การใช้ปัญญาพิจารณาตรวจสอบ) ซึ่งสามารถส่งเสริมการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น มุ่งสู่การเป็นประชาธิปไตย โดยการบูรณาการหลักธรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารเพื่อความมั่นคงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในอนาคต

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2558). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการกระจายอำนาจ. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567 แหล่งที่มา : http://www.lrct.go.th/th/

ธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2555). การบริหารราชการไทย. เชียงใหม่ : สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3 (2).

พนา พันพิจิตร์. (2563). ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). โครงการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรชัย เทพปัญญา และคณะ. (2537). การปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร : ป.สัมพันธ์พาณิชย์.

พระบุญกอง แก้วมะนีวงศ์. (2559). การเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 7 โรงเรียนมัธยมตอนปลายบ้านมะนีลาด เมืองไชยบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระเมธาวินัยรส และสาลินี รักกตัญญู. (2566). การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข. วารสารวิจัยวิชาการ, 6 (1).

พระเรืองเดช โชติธมฺโม และคณะ. (2561). ระบบการปกครองท้องถิ่นไทย. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2561 (25-39). น่าน : วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์. (2547). เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารท้องถิ่น : แนวคิดและหลักการบริหารท้องถิ่น. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2545). การปกครองส่วนท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 27 (2).

สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2540). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร : น่ำกังการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-03

How to Cite

แซ่ลิ้ม ก. (2025). พระ การบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารราชการท้องถิ่น. วารสารพระธรรมทูต, 4(2), 94–102. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/Dhammaduta/article/view/845