การนุ่งห่มของพระสงฆ์
คำสำคัญ:
การนุ่งห่ม, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับการนุ่งห่มของพระในพระพุทธศนา ผ้าในพระพุทธศาสนาที่พระภิกษุนุ่งห่มในพระพุทธศาสนานั้น เรียกที่ใช้เรียกกันหลากหลายโดยส่วนมากจะใช้คำว่า จีวร หรือผ้า ไตรจีวร ซึ่งประกอบไปด้วยผ้า 3 ผืน คือ 1. ผ้าอุตราสงค์ 2. ผ้าอันตรวาสก และ 3. ผ้าสังฆาฏิ ซึ่งผ้านุ่งห่มเหล่านี้มีหลักฐานปรากฏในพระคัมภีร์ต่างๆ รวมทั้งในพระไตรปิฎก โดยวิธีการได้มาซึ่งผ้าในพระพุทธศาสนานั้น คือการไปตามหาเศษผ้าจากในป่า จากผ้าที่คนอื่นไม่ใช้แล้ว นำมาเย็บเป็นผ้าจีวร เพื่อที่จะสามารถบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้ ซึ่งผ้าไตรจีวรนั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้นุ่งห่มได้ตามที่มีในพระวินัย ผ้าจีวรคือผ้าห่ม ผ้าสบงคือผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ คือผ้าพาดหรือผ้าทาบ นอกจากที่ไปเสาะหาตามป่าเขาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงอนุญาติให้รับถวายผ้าจีวรจากผู้อื่นได้ เรียกว่า คหบดีจีวร ซึ่งผู้ที่ทรงขอถวายคนแรกคือหมอชีวก
ดังนั้นผ้านุ่งห่ม หรือผ้าจีวรนั้น ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญของพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาเพราะเป็นปัจจัยหลักในการบ่งบอกลักษณะว่าเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา และทำให้ได้ทราบถึงความหมายของผ้านุ่งห่มในพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งผ้านุ่งห่มเหล่านี้มีหลักฐานปรากฏในพระคัมภีร์ต่างๆ รวมทั้งในพระไตรปิฏก ซึ่งวิธีการนุ่งห่มของพระสงฆ์ไทยนั้นมีรูปแบบของการนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะไปประเทศไหน นุ่งห่มผ้าสีไหน ก็จะรู้ได้ทันทีว่าเป็นพระสงฆ์ที่มาจากประเทศไทยเพราะการนุ่งห่มผ้าที่มีเอกลักษณ์ โดยพระภิกษุเถราทในประเทศไทยนั้นมีการนุ่งห่มอยู่ 4 รูป ดังนี้ (1) ห่มคลุม (2) ห่มมังกร (3) ห่มเปิดไหล่เฉวียงบ่า (4) ห่มดอง
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุมาลี มหณรงค์ชัย. “อาชีวกะในอินเดียยุคต้น : ศึกษาวิถีชีวิตและแนวคิดทางปรัชญาของอาชีวะกะ”.วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562 : 168-184.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ พ.ศ.2556. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9. (2551). ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์คำวัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระอธิการสุชาติ จนฺทสโร (สายโรจน์). (2558). “รูปแบบการนุ่งห่มจีวรของพระสงฆ์ไทย”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ขนิษฐา น้อยบางยา. “ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ: กรณีศึกษาคำเรียกสีจีวรพระสงฆ์ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์”. วารสารสถาบันวจัยพิมลธรรม. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564): 131-140.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญฺ. “ผ้าในพระพุทธศาสนา”. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2549).
พระสุชาติ สุชาโต (ทองมี). (2551). “การบิณฑบาตในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพระธรรมทูต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
The Journal of Dhammaduta | ISSN: xxxx-xxxx (online) | Responsible editors: Dr.Phramaha Prayoon Jotivaro. | This journal is published under the terms of the Creative Commons Attribution 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) by Dhammaduta College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University - 79 Moo 1, Lamsai, Wang Noi, Phra Nakhon Si Ayutthaya 13170 Thailand