การสร้างแรงจูงใจให้เกิดเมตตาในสังคมไทยตามหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • พระครูปริยัติพัชรธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, เมตตา, สังคมไทย, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องการแผ่เมตตา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่สำคัญประการหนึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งเป็นอานุภาพของ ความรักแท้ ในการสร้างคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ การแผ่เมตตา เป็นสิ่งที่โบราณบัณฑิตทั้งหลายปฏิบัติต่อกันมาตามลำดับ เพราะเห็นประโยชน์ว่า การแผ่เมตตานี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นประจำมีจิตใจอ่อนโยน เยือกเย็นลงได้ และทำให้มองเห็นว่าการที่มนุษย์หวังดีต่อกันนั้นเป็นทางนำให้โลกเกิดสันติสุขได้ 

การแผ่เมตตานั้น เป็นหลักคำสอนและข้อปฏิบัติที่สำคัญ ประการหนึ่งของพุทธศาสนา ปรากฏอยู่ในชุดพรหมวิหารธรรมซึ่งประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถือว่ามีความพิเศษแตกต่างจากพุทธธรรมชุดอื่น ๆ เพราะสามารถแผ่ขยายออกไป ส่งให้ไปถึงสรรพสิ่งแบบไร้ขอบเขต ไร้ข้อจำกัด ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่ การแผ่ไปโดยไม่เจาะจง (อโนธิโสผรณา) การแผ่ไปโดยเจาะจง (โอธิโสผรณา) และการแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลาย (ทิสาผรณา) ด้วยเหตุนั้น การแผ่เมตตาจึงมีวิธีปฏิบัติที่หลากหลายทั้งในเชิงลบ เช่น แผ่ให้แก่คนที่เป็นศัตรูกัน หรือ ในเชิงบวก ได้แก่ แผ่ให้แก่ตนเอง ตลอดจนสิ่งทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล ครอบคลุมทุกมิติตั้งแต่ทุคติภูมิ มนุษย์โลก เทวโลก จนกระทั่งถึงพรหมโลก

ชาวพุทธในสังคมไทยนั้นจะคุ้นชินกับการแผ่เมตตาและปฏิบัติกันอยู่เนื่องนิจในชีวิตประจำวัน ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสและ เช่น หลังจากเสร็จสิ้นการทำวัตร สวดมนต์ มักจะจบลงด้วยการแผ่เมตตา เสมอ การสวดมนต์ให้ประเทศไทย สวดมนต์ข้ามปีต้อนรับศักราชใหม่ ซึ่งนิยมจัดกันตามสถานที่ต่าง ๆ สำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั้งหลาย ตลอดจนวัดทุกแห่งทั่วสังคมไทยที่เปิดโอกาสให้ พุทธศาสนิกชนได้ฝึกอบรมจิตใจ เจริญภาวนา ก็ไม่ละเลยจากการแผ่เมตตา หรือตามโรงเรียนต่าง ๆ หลังจากเคารพธงชาติและไหว้พระสวดมนต์เสร็จสิ้นแล้ว ก็ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนกล่าวบทแผ่เมตตา เสมอ กล่าวได้ว่า การแผ่เมตตา ได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การแผ่เมตตายังนำไปประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยอีกด้วย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน. 2556).

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. (2513). ปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. (พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร.

พระอธิการสมชัย มณีวณฺโณ (กิ่งนอก). (2555). “หลักเมตตาในการช่วยเหลือผู้ปุวยโรคเอดส์ในสังคมไทย”,วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (บทคัดย่อ). 11 กระทรวงวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.m-culture.go.th. 25 พ.ย. 2560.

ปรีชา พิณทอง. (2532). สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ. อุบลราชธานี: ด่านสุทธาการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-20

How to Cite

พระครูปริยัติพัชรธรรม. (2024). การสร้างแรงจูงใจให้เกิดเมตตาในสังคมไทยตามหลักพุทธธรรม. วารสารพระธรรมทูต, 1(1), 33–40. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/Dhammaduta/article/view/590