การมีชีวิตที่ดีในยุคโควิด 19 ในมุมมองศาสนาพุทธเถรวาท
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, โรคโควิด 19, พระพุทธศาสนาเถรวาทบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในการใช้ชีวิตต่อการเผชิญโรคโควิด-19 และผลกระทบจากโรคโควิด-19 ด้วยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดเรื่องหลักธรรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้นมีหลากหลาย ดังในพระสุตตันตปิฎกว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์ เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้ ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ สัจจะแลเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐที่สุด ฯ บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ย่อมข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ฯ ในทางพระพุทธศาสนานั้นย่อมเข้าใจถึงความเป็นไปของโลกที่วางสติไว้ในการรับรู้ โลกเป็นสิ่งที่รับรู้ทางสัมผัส ความเข้าใจในธรรมชาติของสรรพสิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ การใช้สติเป็นตัวกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นและใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองเป็นการช่วยรักษาเยียวยาเมื่อเกิดโรคนั้นเอง
ในขณะที่การเผชิญหน้ากับเชื้อโรคโควิด-19 ความไม่ประมาทและความเข้าใจในสัจจะของโลกในทางพระพุทธศาสนาย่อมทำให้รอดพ้นจากเชื้อโควิด-19 การพิจารณาไตร่ตรองข่าวสารทั้งหมดด้วยปัญญา มีสติพร้อมทั้งการรักษาที่ถูกต้อง การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รักษาใจให้เป็นปรกติไม่ตื่นตระหนกพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา ย่อมข้ามผ่านสถานการณ์โควิด-19 ได้
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2539). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานครมู,นิธิพุทธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 31 (นครปฐม: บริษัท จ. เจริญ อินเตอร์พริ้น ประเทศไทย จำกัด).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34.
พระพรหมบัณฑิต. (2561). พระไตรปิฎกฉบับสากล: วิถีธรรมจากพุทธปัญญา, (พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาศุภวัฒน์ ชิติมนฺโต (สุขดำ). (2548). “ การศึกษาเปรียบเทียบแนวเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทกับซิกมันด์ฟรอยด์”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2549). คริสตธรรม และพุทธธรรม. (กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ). คำนำ.
กระทรวงสาธารณะสุขแห่งประเทศไทย. “รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: 20200310-tha-sitrep-17-covid19-thai-final.pdf (who.int).
ณัฏฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2564.
ปรีชา ช้างขวัญยืน และสมภาร พรมทา. (2552). มนุษย์กับศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2532). จริยศาสตร์เบื้องต้น มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสีราษฎรอาวุโส. โลกเปลี่ยนคนปรับ หลุดจากกับดักขยับสู่ความยั่งยืน .(กระทรวงอุดมการณ์ศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม).
CP Inno Expo. News “โควิด 19 กับพฤติกรรม New Normal มาตรฐานวิถีชีวิตใหม่ในวันนี้และตลอดไป”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.wearecp.com/new-normal-190563.
Damien Keown, Buddhism and Biothics, (New York: St.Martin Press,1995), p.8.
Damien Keown. (1992). The Nature of Buddhist Ethics. New York: Palgrave Macmillan.
สมคิค เพิ่งอุดม. (2535). “การศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนตามทรรศนะของพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่สี่กระทรวงระดับตำบลในจังทวัดสมุทรสงคราม”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒประสานมิตร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). การกลับมาของพระพุทธศาสนา “พระเอก” ของการศึกษาใหม่. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ลายเสือ.
สุพัตรา สุภาพ. (2522). สังคมวิทยา. กรุงเทพมทานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพระธรรมทูต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
The Journal of Dhammaduta | ISSN: xxxx-xxxx (online) | Responsible editors: Dr.Phramaha Prayoon Jotivaro. | This journal is published under the terms of the Creative Commons Attribution 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) by Dhammaduta College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University - 79 Moo 1, Lamsai, Wang Noi, Phra Nakhon Si Ayutthaya 13170 Thailand