การจัดการรายกรณีเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้ใช้บริการในสวัสดิการสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาชาติชาย ปญฺญาวชิโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบและกระบวนการเชิงระบบ, ปัจเจกและครอบครัว, การสร้างสัมพันธภาพ, การสืบค้นความต้องการ, การเข้าแทรกแซงช่วยเหลือ, การติดตามประเมินผล, การสิ้นสุดหรือส่งต่อ

บทคัดย่อ

รูปแบบและกระบวนการเชิงระบบในการทำงานสวัสดิการสังคมกับปัจเจกและครอบครัวประกอบด้วยการสร้างสัมพันธภาพ การสืบค้นความต้องการ การเข้าแทรกแซงช่วยเหลือ การติดตามประเมินผลและการสิ้นสุดหรือส่งต่อ แม้ว่าจะมีแนวทางที่ได้เสนอกรอบโครงสร้างในการทำงานกับผู้ใช้บริการดังกล่าวแล้วก็ตามหรือมีแผนการเปลี่ยนแปลงอย่างดีก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะได้ผลอย่างที่ต้องการเสมอไป เพราะการทำงานกับระบบผู้ใช้บริการอาจประสบกับภาวะวิกฤตหรือการเดินถอยหลังอย่างที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน และความกดดันจากภายนอกที่ต้องการนักสังคมสงเคราะห์ที่มีความไวต่อสถานการณ์ สร้างสรรค์และอดทน นักสังคมสงเคราะห์ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับปัญหาและมีแผนในการเข้าแทรกแซงช่วยเหลือเพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างทันต่อสถานการณ์ โดยปกติกระบวนการทำงานจะต้องมีความยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์หรือขั้นตอนต่าง ๆ ที่ได้วางไว้ก่อนการปฏิบัติงาน

References

Hartman, A. (1978). Diagrammatic assessment of family relationships. Social Casework, 59.

Marla Berg-Weger. (2016). Social Work and Social Welfare: An invitation (4th ed.). New York: Routledge.

Ministry of Social Development and Human Security. Department of Older Persons. (n.y.). The Act on the Elderly. B.E. 2546 (2003 A.D.). No place: No press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-20

How to Cite

ปญฺญาวชิโร พ. . (2024). การจัดการรายกรณีเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้ใช้บริการในสวัสดิการสังคมไทย. วารสารพระธรรมทูต, 1(1), 19–24. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/Dhammaduta/article/view/588