แนวทางการพัฒนาปัญญาในพุทธศาสนาเถรวาทต่อการดำเนิน ชีวิตประจำวัน

ผู้แต่ง

  • พระอุดมวรญาณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ปัญญาในพระพุทธศาสนา, การดำเนินชีวิตประจำวัน

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัญญาในพระพุทธศาสนา เถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปัญญาตามปัญญา 3 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางการพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาท ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  ผลการวิจัยพบว่า มนุษย์ทุกคนนั้นจำเป็นที่สุด เพื่อฝึกหัดปฏิบัติเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ  เพราะนั้นคือการพัฒนาปัญญาของตนเอง ปัญญาในพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต เป็นแผนที่ในการวางแผนและบริหารจัดการเกี่ยวกับทุกเรื่องของชีวิต บ่อเกิดของปัญญามี 3 ทางคือ  สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง  จินตามย ปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด  ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอบรมธรรมที่เป็นเครื่องเจริญ  ธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามแก่ปัญญา  ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติก่อให้เกิดความรอบรู้ 2 ระดับ ได้แก่ โลกิยปัญญา เป็นปัญญาในทางโลก เป็นวิสัยของโลก และโลกุตตรปัญญา อาศัยโลกียปัญญาเป็นพื้นฐาน ในการฝึกฝน เพื่อให้มีความเจริญมากขึ้น  การพัฒนาปัญญาของมนุษย์นั้น มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงขั้นสูงสุด คือ ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาที่จะกำจัดกิเลส  และให้รู้เท่าทันความจริง ทั้งหลายให้รู้ถึงความที่สิ่งทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เพื่อให้รู้จักโลกและชีวิต ตามความเป็นจริง จนกระทั่งสามารถวางจิตใจต่อชีวิตและโลกได้อย่างถูกต้อง เป็นจิตที่สงบ โล่ง โปร่ง ผ่องใส เบา เป็นอิสระ ปราศจากกิเลส ไม่ยึดติดวัตถุใดๆ ในโลกที่จะทำให้จิตหวั่นไหวได้ เนื่องจากปัญญาเข้าถึงความจริงได้ การดำเนินชีวิตประจำวันจึงเป็นอยู่ด้วยปัญญา และรู้เท่าทันตามความเป็นจริงตามเหตุปัจจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). “หัวใจพระพุทธศาสนา”. วารสารพุทธจักร. ปีที่ 61 ฉบับที่ 4 (เมษายน 2550).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16, กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). (2546). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-20

How to Cite

พระอุดมวรญาณ. (2024). แนวทางการพัฒนาปัญญาในพุทธศาสนาเถรวาทต่อการดำเนิน ชีวิตประจำวัน. วารสารพระธรรมทูต, 1(1), 1–9. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/Dhammaduta/article/view/586