การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มทักษะการฟัง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ศิริประภา แก้วบุญใสย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้, ทักษะการฟัง, นิทานภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความร่วมมือในการเรียนรูและการนำประโยชนจากการเรียนรู้ไปใช้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแจ้งตราดคลองไทรจำนวน 15 คน ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2564 ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะแรกเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรูเพื่อพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้นิทานเป็นสื่อให้แก่นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติเป็นเวลา 3 สัปดาห์ จำนวน 9 คาบ ระยะที่สอง คือ การฝึกปฏิบัติจริงนอกห้องเรียน โดยจัดแสดงละครและการเล่านิทาน เป็นเวลา 2 สัปดาห์จำนวน 6 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรูทักษะการฟังโดยใช้นิทานเป็นสื่อ จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัด ความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลอง แบบสังเกตพฤติกรรมด้านการฟัง  แบบประเมินตนเองด้านการฟังภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่แบบไม่อิสระจากกัน (t-test for dependent samples) และ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมประมวลผลสำเร็จรูป SPSS

ผลการวิจัยพบว่า  

  1. ความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคลองกับผลการวิเคราะห์จากแบบสังเกตพฤติกรรมด้านการฟังและ แบบประเมินตนเองด้านการฟังภาษาอังกฤษ ที่แสดงถึงพัฒนาการด้านทักษะการฟังของนักเรียนในการใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้

2. นักเรียนมีพัฒนาการด้านความร่วมมือในการเรียนรูและการนำประโยชนจากการเรียนรู ไปใช้

References

จารุพรรณ เพ็งศรีทอง. (2544). การศึกษาปัญหาการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัย (มกราคม-มิถุนายน). 4(1): 171-185.

บัญชา อึ้งสกุล. (2545). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษหลักการทักษะและหลักการปฏิบัติการ. วารสารวิชาการ (กรกฎาคม). 5(7): 52-57.

พันธณีย์ วิหคโต. (2546). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการ (กันยายน). 6(4): 24-27.

วยุพา ทศศะ. (2541). การสัมมนาเชิงปฏิบัติการการเล่านิทานสัญจรสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยสารคาม.

อภิญญา เบญจวรรณากร. (2540). การเล่านิทานในยุคอิเล็กทรอนิกส์. วารสารห้องสมุด (กรกฎาคม-กันยายน). 41(3): 40-46.

Brown, J.L.M. (2006). Rhymes, Stories and Songs in the ESL Classroom. The Internet TESL Journal. V.7(4), Retrieved April 12, 2006, from http://iteslj.org/Techniques/

Saricoban-Songs.html

Doff, A. (1989). Teach English: A Training Course for Teachers. New York: Cambridge University Press.

Taylor, E.K. (2000). Using Folktales. New York: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-17

How to Cite

แก้วบุญใสย ศ. (2023). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มทักษะการฟัง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารพระธรรมทูต, 3(1), 1–11. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/Dhammaduta/article/view/479