การพัฒนาชุมชนด้านการจัดการขยะรีไซเคิลโดยพระสงฆ์

ผู้แต่ง

  • พระธีรวัฒน์ ภทฺทธมฺโม

คำสำคัญ:

บทบาทหน้าที่พระสงฆ์, การพัฒนาชุมชนด้วยขยะรีไชเคิล

บทคัดย่อ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ที่มีต่อชุมชนเริ่มลดลงทุกที  และส่งผลกระทบโดยตรงต่อวัดที่เคยมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวัดและชุมชน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางของคนในชุมชนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนด้วยความยั่งยืน  โดยการให้ความรู้และความเข้าใจต่อกระบวนการการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตคนในยุคใหม่ ด้วยการนำหลัก ๓ R ด้วยการใช้วิธีคิดดำเนินชีวิตด้วยหลักสัปปุริธรรม ๗ ประการ  นั้นเป็นผู้มีเหตุผล รู้จักใช้ความคิดในการกระทำ  ด้วยหลักธรรมแห่งความเจริญในชีวิต คือ จักร ๔ และหลักการทำงานที่จะสำเร็จต้องมีคุณธรรมตามหลักอิทธิบาท ๔ พระสงฆ์ในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อบ้าน-วัด-โรงเรียน (บวร) ภายในชุมชน พระสงฆ์จะต้องนำกระบวนการกำจัดขยะรีไซเคิล  ซึ่งมีการเปลี่ยนบริบทใหม่ให้สอดคล้องต่อเหตุการณ์ภายในชุมชน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ด้วยการจัดการขยะรีไซเคิลให้ถูกต้อง  ทำให้เกิดประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมาย และเกิดประโยชน์ต่อคนภายในชุมชนที่ดีและยั่งยืน

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). คู่มือปฏิบัติการ 3 ใช้ (3R) เพื่อจัดการขยะชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท ฮีซ์ จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2546

พระมหากิตติ สุจิตฺโต (สรอยมาลา). (2556). บทบาทของพระสงฆในการพัฒนาชุมชนในทัศนะของประชาชนในเขตอําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

สัญญา สัญญาพิวัฒน์. (2546). สังคมวัฒนะธรรมพุทธ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

สำนักอนามัยและสิ่งแวดล้อม. (2562). คู่มือการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในวัด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

พัทยา สายหู. (2544). ปัจจัยที่กำหนดลักษณะที่อยู่อาศัย: บริบททางสังคม ในบัณฑิตจุลาลัย. (บรรณาธิการ). บ้านไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิรียุตม์ วรรณพฤกษ์. (2555). การปรับปรุงนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.สาขาการ จัดการสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2555.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2555). จากอีสานสู่ตำนานนักรัฐศาสตร์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์ อินทภาษ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-19

How to Cite

ภทฺทธมฺโม พ. (2024). การพัฒนาชุมชนด้านการจัดการขยะรีไซเคิลโดยพระสงฆ์. วารสารพระธรรมทูต, 3(2), 100–111. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/Dhammaduta/article/view/327