คำให้การของเปรตในคัมภีร์เปตวัตถุ

ผู้แต่ง

  • ชัยพร ฤทธิ์กระจ่าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มาศโมฬี จิตวิริยธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

คัมภีร์เปตวัตถุ, คำให้การ, เปรต

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเรื่องบุญ-บาป กรรมดี-กรรมชั่ว นรก-สวรรค์ ตามคำบอกเล่าของเปรตในคัมภีร์เปตวัตถุ เป็นการศึกษาเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า คัมภีร์เปตวัตถุ ประมวลเรื่องราวของผู้ละจากโลกนี้ไป มีทั้งสิ้น 51 เรื่อง มีแหล่งที่มา 2 แหล่งคือ จากเรื่องที่พระผู้มีพระภาคทรงยกขึ้นมาแสดงเองจากเหตุการณ์ที่เกิดเรื่องขึ้น (อัตถุปปัตติเหตุ) และมาจากการถาม-ตอบ (ปุจฉาวิสัชชนา) ระหว่างพวกเปรตกับพระอรหันตสาวก เช่น พระมหาโมคคัลลานเถระ พระสารีบุตรเถระเป็นต้น แล้วนำเรื่องราวของเปรตนั้นไปกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบจากนั้นพระองค์ก็ปรารภเหตุนั้นแสดงธรรมแก่พุทธบริษัท

คำว่าเปรตมี ๒ ความหมายคือ (1) หมายถึงผู้จากโลกนี้ไปคือผู้ตายไปแล้ว ผู้ล่วงลับไปแล้ว พวกที่ตายไปเกิดเป็นเทวดาก็เรียกว่าเปตะหรือเปรตในความหมายนี้ก็มี เช่น พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ตายไปแล้วเรียกว่า เปตพลี (2) หมายถึงสัตว์พวกหนึ่งที่เกิดในอบายภูมิที่เรียกว่าเปตวิสัย หรือเปรตวิสัย สัตว์พวกนี้ได้รับทุกขเวทนาต่างๆ ตามผลแห่งกรรมชั่วที่ได้ทำไว้

นอกจากนี้ ยังมีเปรตอีกพวกหนึ่งที่เสวยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วสลับกันในชาติเดียวกัน เรียกว่า เวมานิกเปรต คือเปรตที่มีวิมานอยู่เป็นของตัวเอง มีความสุขเหมือนพวกเทวดาในเวลาหนึ่ง แต่ในอีกเวลาหนึ่งได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัสเหมือนเปรตพวกอื่นและสัตว์นรกทั้งหลาย คัมภีร์เปตวัตถุ ได้อธิบายลักษณะทางกายภาพของเปรตแต่ละชนิดไว้แตกต่างกันแบ่งตามอำนาจบาปกรรมของเปรตที่เคยทำไว้ เรื่องราวของเปรตในคัมภีร์เปตวัตถุให้คติเตือนใจแก่มนุษย์เกี่ยวกับเรื่องกฎแห่งกรรมและความมีอยู่จริงเรื่องบุญ-บาป ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อันเป็นแนวคิดพื้นฐานของชาวพุทธที่พึงประสงค์

References

ณทรัตน์จุฑา ไชยสวัสดิ์. (2562). “ความเชื่อเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษของคนไทยถิ่นใต้ : ผี เปรต และเทวดา”, วิวิธวรรณสาร. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2562).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรกัดส์ จำกัด.

พระประพันธ์ ชาตเมโธ (สีผึ้ง) และคณะ. (2565). “ศึกษาวิเคราะห์เปรตในสังคมไทย”, วารสารวิจัยวิชาการ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 4, (กรกฎาคม-สิงหาคม 2565).

พระใบฎีกาทวีศักดิ์ ชินวํโส (กล้าคง). (2563). “วิเคราะห์คุณค่าทางพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในความเชื่อเรื่องเปรตที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน”, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ 2563).

พระมหาอุทิศ ศิริวรรณ. (2636). “เปรตในพระไตรปิฎก”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระสมคิด สิริปุญฺโญ (ศรีบุญมา). (2536). “วิเคราะห์อกุศลกรรมที่นำสัตว์ไปเกิดเป็นเปรตในพระพุทธศาสนาเถรวาท”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิกาย เปตวัตถุ. (2539). บทนำพระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ 26. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิกาย เปตวัตถุ. (2556). อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิกาย เปตวัตถุ. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค 1 พระพุทธโฆสเถระ รจนา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิกาย เปตวัตถุ.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-19

How to Cite

ฤทธิ์กระจ่าง ช., & จิตวิริยธรรม ม. (2024). คำให้การของเปรตในคัมภีร์เปตวัตถุ. วารสารพระธรรมทูต, 3(2), 65–75. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/Dhammaduta/article/view/324