การพัฒนารูปแบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ดา งานหมั่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบจัดกิจกรรม, การเรียนรู้แบบร่วมมือ

บทคัดย่อ

การออกแบบการจัดการเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญ โดยผู้สอนควรพิจารณารายวิชาและหัวข้อ ที่ตนเองจะสอนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนว่าต้องการพัฒนาผู้เรียนด้วยเทคนิคอะไรอย่างไร ในปัจจุบันส่วนใหญ่ผู้สอนมีการออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สอดคล้องกับยุคศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการกระบวนการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตน และส่วนรวม เพื่อให้กลุ่มได้รับความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด การจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 4-6 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมกันรับผิดชอบงานในกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดเป็นความสำเร็จของกลุ่ม บทความวิชาการนี้ผู้เขียนมุ่งนำเสนอ ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ บทบาทของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา กรมศาสนา

จันทรา ตินติพงศานุรักษ์. (2543). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Cooperative Learning. วิชาการ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

ประกายแก้ว แปรโคกสูง. (2541). ประสิทธิภาพการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา. บุรีรัมย์: บุรีรัมย์การพิมพ์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ฟแมนเนจเม้นท์.

ศรีภรณ์ ณะวงศ์ษา. (2542). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และการให้ความร่วมมือต่อกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรม การเรียนแบบ TEAMS-GAMES-TOURNAMENT HUU STUDENT TEAMS- ACHIEVEMENT DIVISION และการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Johnson. D. W.. & Johnson. R. T. (1987). Learning together and alone: Cooperative. competitive and individualistic learning. 2nd Ed. Englewood Cliffs. NJ: Prentice-Hall.Inc.

Slavin. Robert E. (1995). Cooperative Learning Theory. Research and Practice. 2nd ed. Massachsetts : A Simom & Schuster.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-19

How to Cite

งานหมั่น ศ. (2024). การพัฒนารูปแบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารพระธรรมทูต, 3(2), 76–88. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/Dhammaduta/article/view/314