https://so14.tci-thaijo.org/index.php/msjkorat/issue/feed มจร สุรนารีสาร 2024-11-07T21:43:38+07:00 Phramaha Supat Vajirāvudho, Assoc. Prof. Dr. mcusuranaree@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>ชื่อวารสาร: มจร สุรนารีสาร (MCU Suranaree Journal)</strong></p> <p><strong>ชื่อย่อ: MSJ </strong></p> <p><strong>ชื่อย่อสำหรับการอ้างอิง: MCU Suranaree.J.</strong></p> <p><strong>ISSN: 2985-1106 (online)</strong></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong></p> <p>๑. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ ทางด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา จริยศาสตร์ การศึกษา และสหวิทยาการ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษา และบุคคลทั่วไป </p> <p>๒. เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ </p> <p>๓. ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย ๒ ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (double-blind review)</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong></p> <p>๑. บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารฯ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น </p> <p>๒. ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การนำเสนอบทความอย่างเคร่งครัด </p> <p>๓. ระบบการอ้างอิงจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร </p> <p><strong>ประเภทของบทความ</strong> : บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และหรือบทความวิจารณ์หนังสือ</p> <p><strong>ภาษาที่รับการตีพิมพ์</strong> : ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์</strong></p> <p>-วารสารมีกำหนดออก ๓ ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ ๑ มกราคม-เมษายน, ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม, ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong>: สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา</p> <p><strong>นโยบายด้านลิขสิทธิ์ (</strong><strong>Copyright Policy)</strong></p> <p>ข้อความหรือความคิดเห็นต่าง ๆ ในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ มจร สุรนารีสาร</p> <p><strong>นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (</strong><strong>Privacy Statement)</strong></p> <p>ชื่อและอีเมล์ที่กรอกไว้ในวารสารจะใช้ในกระบวนการของวารสารนี้เท่านั้น</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่: </strong>ด้วยทางวารสาร มจร สุรนารีสาร เป็นวารสารที่เปิดใหม่ ในช่วงก่อนรับการประเมินเข้าฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) ทางวารสารเปิดรับบทความตีพิมพ์โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น จนกว่าจะได้รับการประเมินเข้าฐานของ TCI</p> <p><strong>ติดต่อสอบถาม</strong></p> <p> -ผู้จัดการวารสาร โทร. 064 8060 444 </p> <p>-Line ID: 66648060444 (กรุณาแอ๊ดไลน์เพื่อแจ้งข้อมูลรวดเร็ว) </p> <pre id="tw-target-text" class="tw-data-text tw-text-large tw-ta" dir="ltr" data-placeholder="คำแปล" data-ved="2ahUKEwickv-v5ZSJAxVV1jgGHR3sKekQ3ewLegQIBxAU" aria-label="ข้อความที่แปล: Please add Line for quick contact."><span class="Y2IQFc" lang="en">Email. mcusuranaree@gmail.com</span></pre> https://so14.tci-thaijo.org/index.php/msjkorat/article/view/1111 เชื่อแบบสุโขทัย : มุ่งหน้าสู่สวรรค์ หันหลังให้นรก 2024-10-21T10:04:06+07:00 ธีรวิชญ์ วงษ์วีรสุวรรณ kherk007@gmail.com กุลพิสิฐ ขวาไทย kherk007@gmail.com <p>หนังสือเรื่อง เชื่อแบบสุโขทัย : มุ่งหน้าสู่สวรรค์ หันหลังให้นรก นี้ไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะความเชื่อเรื่องบุญเรื่องบาปของชาวสุโขทัยเท่านั้น แต่ยังให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วได้ลงนรก ถือเป็นหนังสือที่ให้แนวคิดเรื่องบุญเรื่องบาปตามหลักเหตุผลทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับชาวพุทธควรมีไว้ศึกษาเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติในการกระทำทางกาย ทางวาจาและทางใจให้ตั้งมั่นในการทำความดีอยู่เสมอจะได้ไม่พลาดทำผิดศีลผิดธรรม</p> 2024-11-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร https://so14.tci-thaijo.org/index.php/msjkorat/article/view/1133 บทบรรณาธิการ 2024-11-07T21:16:27+07:00 Chokchai Chomnawang mcusuranaree@gmail.com <p>วารสาร มจร สุรนารีสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ทางด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา จริยศาสตร์ การศึกษา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไป เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่</p> <p>ในวารสารฉบับปีที่ 1 เล่ม 3 นี้มีผลงานวิจัยที่ทรงคุณอย่างยิ่งเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางศึกษาและการนำพุทธจริยศาสตร์มาใช้ในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารบ้านเมือง ตลอดถึงผลงานด้านวิชาการเกี่ยวกับการนำหลักสัปปุริสธรรมมาใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อย่างดียิ่ง และยังมีบทวิจารณ์หนังสือเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์อันเป็นผลของการทำดีและการทำบาป</p> <p>ทางกองบรรณาธิการรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งและขอขอบคุณผู้แต่งทุกท่าน ที่ได้ส่งบทความอันทรงคุณค่าทรงภูมิปัญญาพร้อมด้วยองค์ความรู้ใหม่ๆ มาร่วมเผยแพร่ในวารสาร มจร สุรนารีสาร และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากท่านเป็นอย่างดีในโอกาสต่อไป</p> 2024-11-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร https://so14.tci-thaijo.org/index.php/msjkorat/article/view/638 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อประสม เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบ ๆ ตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนวัดด่านช้าง 2024-02-01T20:00:04+07:00 ขนิษฐา ภูฆัง khnisthaph9@gmail.com ชญารัตน์ บุญพุฒิกร khnisthaph9@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องสิ่งมีชีวิตรอบ ๆ ตัว โดยใช้การเรียนรู้แบบสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบสื่อประสม กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดด่านช้าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>(1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องสิ่งมีชีวิตรอบ ๆ ตัว โดยใช้การเรียนรู้แบบสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 4 นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>(2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อประสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-11-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร https://so14.tci-thaijo.org/index.php/msjkorat/article/view/839 พุทธจริยศาสตร์ประยุกต์เพื่อบูรณาการต่อต้านการทุจริตเชิงนโยบาย ในจังหวัดอุดรธานี 2024-08-30T17:53:51+07:00 บุญเพ็ง สิทธิวงษา boonpeng.sit@neu.ac.th สมปอง สุวรรณภูมา boonpeng.sit@neu.ac.th สุภกิจ ภักดีแสน boonpeng.sit@neu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้พุทธจริยศาสตร์เพื่อบูรณาการนโยบายต่อต้านการทุจริต (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการนำพุทธจริยศาสตร์ไปบูรณาการนโยบายต่อต้านการทุจริต และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางปฏิบัติในการนำพุทธจริยศาสตร์มาบูรณาการนโยบายต่อต้านการทุจริตเชิงนโยบายในจังหวัดอุดรธานี การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง 400 คน และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า:</p> <p>(1) การประยุกต์ใช้พุทธจริยศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านดังนี้ ด้านการติดตามและประเมินผล ด้านการกำหนดนโยบายของรัฐบาลและด้านการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ตามลำดับ</p> <p>(2) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำพุทธจริยศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านความพึงพอใจในนโยบาย ด้านบทบาทของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ด้านบทบาทของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจังหวัด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์คะแนนดิบ (b) เท่ากับ 381, .299, .156, .138 และ. 074 ตามลำดับ</p> <p>(3) ควรสร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่โดยมีหลักพุทธจริยธรรมเป็นคุณธรรม โดยการบูรณาการนโยบายสาธารณะใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้ครอบคลุมนโยบายทุกระดับ จัดให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล กำหนดตัวชี้วัดมาตรฐานหรือเกณฑ์ในการประเมินนโยบายสาธารณะบนพื้นฐานของคุณธรรมและความโปร่งใส</p> 2024-11-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร https://so14.tci-thaijo.org/index.php/msjkorat/article/view/659 การใช้หลักสัปปุริสธรรมเสริมสร้างการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณตำรวจ 2024-06-24T15:54:51+07:00 พิชศาล พันธุ์วัฒนา pitsarn_ph@rpca.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำหลักสัปปุริสธรรม 7 ข้อ มาปรับใช้กับการปฏิบัติตนของตำรวจตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.2566 จากการศึกษาพบว่า หลักสัปปุริสธรรม 7 สามารถเชื่อมโยงกับกฎจรรยาบรรณของตำรวจได้ดังนี้ (1) ธัมมัญญุตา (การรู้เหตุ) - สอดคล้องกับจรรยาบรรณข้อที่ระบุให้ตำรวจยึดมั่นในคุณธรรมและกฎหมาย ตำรวจควรรู้เหตุและหลักการของกฎระเบียบ เพื่อการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับบทบาทของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ (2) อัตถัญญุตา (การรู้ผล) - สอดคล้องกับข้อที่กล่าวถึงความมุ่งมั่นในการรักษาความสงบสุขให้แก่สังคมและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรม ตำรวจควรเข้าใจผลที่จะเกิดจากการกระทำ เพื่อส่งเสริมประโยชน์ของประชาชนและความยุติธรรม (3) อัตตัญญุตา (การรู้ตน) - สอดคล้องกับข้อที่ระบุให้ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้ตำแหน่งเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตน การรู้จักตนช่วยให้ตำรวจรู้ถึงข้อจำกัดของตนและพัฒนาตนเองในแนวทางที่ถูกต้อง (4) มัตตัญญุตา (การรู้จักประมาณ) - เชื่อมโยงกับจรรยาบรรณข้อที่ส่งเสริมให้ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง รู้จักพอดีในการใช้ทรัพย์สินของราชการ และไม่กระทำสิ่งใดเกินกว่าความจำเป็น เช่น การใช้อาวุธหรือกำลังในกรอบที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น (5) กาลัญญุตา (การรู้กาล) - สอดคล้องกับข้อที่ให้ตำรวจรู้จักเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ ตำรวจควรบริหารเวลาในการทำงานอย่างเหมาะสม และปฏิบัติหน้าที่ให้ทันเวลาและถูกต้อง (6) ปริสัญญุตา (การรู้ชุมชน) - เชื่อมโยงกับข้อที่ให้ตำรวจรู้จักสังคมและเคารพสิทธิของประชาชน การเข้าใจความต้องการของชุมชนจะช่วยให้ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเห็นใจและสร้างความไว้วางใจจากประชาชน (7) ปุคคลัญญุตา (การรู้จักบุคคล) - สอดคล้องกับข้อที่ส่งเสริมให้ตำรวจมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และใช้ความสามารถในการสื่อสารเพื่ออำนวยความยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ การรู้จักบุคคลช่วยให้ตำรวจเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลในการปฏิบัติงาน</p> <p>การนำหลักสัปปุริสธรรมมาปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎจรรยาบรรณของตำรวจจะช่วยเสริมสร้างคุณธรรมในหน้าที่การงาน ทำให้ตำรวจสามารถดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ความเป็นมืออาชีพ และการเป็นที่พึ่งพาของสังคม </p> 2024-11-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร https://so14.tci-thaijo.org/index.php/msjkorat/article/view/1068 ชนชั้นทางสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยา 2024-09-28T16:55:25+07:00 วิเชียร นามการ dr.vichian2503@gmail.com วานิช พาลาด dr.vichian2503@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้ได้ศึกษาชนชั้นทางสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยา โดยนำหลักพุทธธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรง จำแนกเหล่าเวไนยสัตว์บุคคลที่มีอยู่ 4 จำพวก เปรียบได้ดังดอกบัวสี่เหล่า หมายถึง ปัญญา วาสนา บารมี และอุปนิสัย ที่สร้างสมมาแต่อดีตของบุคคล ซึ่งบัว 4 เหล่านั้น คือบัวประเภทที่ 1 ดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว รอแสงพระอาทิตย์จะบานวันนี้ บัวประเภทที่ 2 ดอกบัวที่ปริ่มน้ำ จะบานวันพรุ่งนี้ บัวประเภทที่ 3 ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ยังอีก 3 วันจึงจะบาน บัวประเภทที่ 4 ดอกบัวที่เพิ่งงอกใหม่จากเหง้าในน้ำ จะยังไม่พ้นภัยจากเต่าและปลา ทั้งยังต้องนำหลักการของพระพุทธเจ้าทรงจำแนกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในทิศต่าง ๆ ไว้ 6 ทิศด้วยกัน ได้แก่1) ทิศเบื้องหน้าคือบิดามารดา 2) ทิศ เบื้องขวาคือครูอาจารย์ 3) ทิศเบื้องหลังคือบุตรและภรรยา 4) ทิศเบื้องซ้ายคือมิตร 5) ทิศ เบื้องล่างคือลูกน้อง 6) ทิศเบื้องบนคือนักบวช, ทั้ง 6 ทิศนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกันหรือปฏิสัมพันธ์ ด้วยต้องรู้จักหน้าที่ของตนว่ามีอะไรบ้าง เพราะหน้าที่เหล่านี้ ทิศ 6 ของใครก็ประกอบด้วยตัวของคนนั้น เองเป็นแกนกลาง แล้วแวดล้อมด้วยบุคคล อีก 6 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มล้วนมีความสัมพันธ์กับตัวของเขา ตามฐานะและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าชนชั้นทางสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยา ที่ช่วยให้มนุษย์เรา สามารถปรับตัวไปตามสถานการณ์หรือสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ กล้าเผชิญกับปัญหา และสามารถทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต มีความมั่นคงทางอารมณ์สามารถควบคุมตนเองได้ เข้าใจปัญหาและสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาและตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเองได้นำมาซึ่งความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีการแสดงออกที่เหมาะสม</p> 2024-11-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร https://so14.tci-thaijo.org/index.php/msjkorat/article/view/670 พุทธวิธีการรับมือการวิวาท 2024-09-06T17:13:08+07:00 ณัฐกิต อนุรักษ์ตระกูล natthakit.liang@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธวิธีการรับมือการวิวาท ผลการศึกษา พบว่า ปรากฏการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล องค์กร หรือกลุ่มสังคมต่างๆ ความแตกต่างทางความคิดเห็นมักนำไปสู่การใช้อำนาจหรือความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมควรให้ความสำคัญและแสวงหาแนวทางในการแก้ไข แม้ว่าความขัดแย้งจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคม แต่การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียและความรุนแรง พุทธวิธีซึ่งเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติและสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความขัดแย้ง วิธีการแก้ไขปัญหา และคุณสมบัติของผู้ที่มีจิตใจสงบและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติ พุทธวิธีได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง 9 ประการ ได้แก่ การมีมุมมองที่ถูกต้อง การมีเมตตา การปฏิบัติอย่างเท่าเทียม การรักษาศีล การเป็นผู้ฟังที่ดี การยอมรับคำแนะนำ การขยันหมั่นเพียร การมีสติปัญญา และการมีมิตรที่ดี ซึ่งวิธีการเหล่านี้มีรากฐานมาจากหลักธรรมสาราณียธรรมที่เน้นการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีคุณธรรม อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ แม้จะพยายามแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการทั้งหมดแล้ว ความขัดแย้งอาจยังคงอยู่ได้ ในกรณีเช่นนี้ พุทธวิธีแนะนำให้รักษาความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใด และระลึกถึงสภาพธรรมชาติของโลกที่เต็มไปด้วยความไม่เที่ยงแท้ การทำความเข้าใจในหลักธรรมนี้จะช่วยให้เราสามารถยอมรับสถานการณ์และรอคอยโอกาสในการแก้ไขปัญหาในอนาคต</p> 2024-11-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร https://so14.tci-thaijo.org/index.php/msjkorat/article/view/1067 รูปแบบการเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในยุคปัจจุบัน 2024-10-29T18:25:53+07:00 ประพันธ์ นึกกระโทก praphan18244@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในยุคปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าสถานีวิทยุมีประโยชน์อย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าจะดูเป็นสื่อที่เก่าเกินไปสำหรับยุคปัจจุบัน แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังมีความพอใจใช้สื่อวิทยุ เพื่อรับฟังธรรมะ รับฟังข่าวสารต่าง ๆ เช่น ข่าวการศึกษา ข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง นานาสาระธรรมและข่าวสารบันเทิงต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย สามารถช่วยบรรเทาภาวะความเครียดต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะเมื่อได้ฟังเสียงธรรมจากสถานีวิทยุ ซึ่งมีทั้งดีเจที่ตนชื่นชอบมีการสนทนาโต้ตอบกับผู้ฟังผ่านการจัดรายการสด และเทปบรรยายธรรมของพระสุปฏิปันโน ก็จะทำให้มีจิตใจเบิกบานมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ผู้เผยแผ่ธรรม หรือนักจัดรายการวิทยุ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเผยแผ่ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน ในเรื่องของการเป็นผู้ส่งสารที่ดี คุณสมบัติของนักเผยแผ่ที่ดี หากปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะทำให้เข้าถึงความถูกต้อง และเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นอีกด้วย</p> <p>นอกจากนี้การใช้สื่อออนไลน์ควบคู่กับวิทยุ เช่น เฟซบุ๊ก และยูทูบ เพื่อเพิ่มช่องทางการเผยแผ่ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น และตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้ฟังในยุคปัจจุบัน</p> 2024-11-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร