พุทธจริยศาสตร์ประยุกต์เพื่อบูรณาการต่อต้านการทุจริตเชิงนโยบาย ในจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ต่อต้านการทุจริตเชิงนโยบาย, ประยุกเพื่อบูรณาการ, พุทธจริยศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้พุทธจริยศาสตร์เพื่อบูรณาการนโยบายต่อต้านการทุจริต (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการนำพุทธจริยศาสตร์ไปบูรณาการนโยบายต่อต้านการทุจริต และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางปฏิบัติในการนำพุทธจริยศาสตร์มาบูรณาการนโยบายต่อต้านการทุจริตเชิงนโยบายในจังหวัดอุดรธานี การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง 400 คน และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า:
(1) การประยุกต์ใช้พุทธจริยศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านดังนี้ ด้านการติดตามและประเมินผล ด้านการกำหนดนโยบายของรัฐบาลและด้านการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ตามลำดับ
(2) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำพุทธจริยศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านความพึงพอใจในนโยบาย ด้านบทบาทของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ด้านบทบาทของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจังหวัด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์คะแนนดิบ (b) เท่ากับ 381, .299, .156, .138 และ. 074 ตามลำดับ
(3) ควรสร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่โดยมีหลักพุทธจริยธรรมเป็นคุณธรรม โดยการบูรณาการนโยบายสาธารณะใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้ครอบคลุมนโยบายทุกระดับ จัดให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล กำหนดตัวชี้วัดมาตรฐานหรือเกณฑ์ในการประเมินนโยบายสาธารณะบนพื้นฐานของคุณธรรมและความโปร่งใส
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติ สัตรัตน์. (2564). รูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันและปัจจัยที่ส่งผลต่อการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรภาครัฐ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(1), 300–314.
กนกอร บุญมี ธวัช ทะเพชร และนภารัตน์ พุฒนาค. (2560). แนวทางการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, 4(2), 84-98.
ชนิกานต์ใสยเกื้อ. (2561). การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(1), 132-147.
ดิฐภัทร บวรชัย. (2560). รูปแบบการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีศึกษาระดับสถานีตำรวจ. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 16(30), 50-62.
บุญเพ็ง สิทธิวงษา, กนกอร บุญมีและ อาทิตย์ แสงเฉวก. (2565). การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 49–66.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพลการวิเคราะห์อำนาจการคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะนุช ศรีสรานุกรม. (2567). แนวทางป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ. วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์. 2(2), 35–50.
เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล และคณะ. (2561). “แนวทางสร้างค่านิยมต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบให้กับกลุ่มเยาวชนในจังหวัดนครราชสีมา”. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 2(3), 15-16.
สำนักงาน ป.ป.ช. (2564). ประกาศสำนักงาน ป.ป.ช. เรื่อง การมอบรางวัลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.