พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ: การใช้หลักพุทธธรรมในการทำธุรกิจ บทสนทนาระหว่างพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กับ นายลอเรนส์ แวน เดน มิวเซนเบิร์ก

ผู้แต่ง

  • วรพินธ์ กุศลสมบูรณ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

หนังสือชื่อ “พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ : การใช้หลักพุทธธรรมในการทำธุรกิจ บทสนทนาระหว่างพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กับนายลอเรนส์ แวน เดน มิวเซนเบิร์ก” แปล/เรียบเรียงโดยคุณพนิตา อังจันทรเพ็ญ บรรณาธิการบริหารวารสารเผยแพร่ธรรม “โพธิยาลัย” จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดยธรรมสภาในช่วงเทศกาลปีใหม่ เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 มีความยาว 73 หน้า ในฐานะที่ผู้วิจารณ์เป็นนักธุรกิจ เป็นการไม่ง่ายที่จะหาหนังสือหลักธรรมเพื่อมาประยุกต์ใช้ในวงการ  เป็นความอนุเคราะห์ของคุณพนิตา อังจันทร์เพ็ญผู้ซึ่งได้อยู่ร่วมฟังการสนทนาครั้งนั้นและได้ถอดเทปมาเป็นหนังสือโดยการแปล/เรียบเรียง ใช้วิธีสรุปหลักธรรมที่พระพรหมคุณาภรณ์สนทนากับนายลอเรนส์ แวน เดน มิวเซนเบิร์ก นักหนังสือพิมพ์/นักเขียนชาวเดนมาร์ก ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 

          นายลอเรนส์ แวน เดน มิวเซนเบิร์กได้อ่านหนังสือชื่อ Buddhist Economics และA Constitution for Living เขียนโดยพระพรหมคุณาภรณ์ อ่านตำราของธิเบต ตำราของท่านพุทธทาส เขียนหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เคยสัมภาษณ์ท่านดาไล ลามะ แต่ท่านลังเลที่จะตอบคำถามเชิงธุรกิจ จึงได้มาขอความกระจ่างจากพระพรหมคุณาภรณ์ ถึงแม้ท่านได้ออกตัวว่าไม่ถนัดเรื่องธุรกิจแต่ท่านก็หาคำตอบมาให้

References

พนิตา อังจันทรเพ็ญ. แปล/เรียบเรียง. (2548). พระพุทธศาสนา กับโลกธุรกิจ : การใช้พุทธธรรมในการทำธุรกิจ บทสนทนาระหว่าง พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กับ นายลอเรนส์ แวน เดนมิวเซนเบิร์ก, 2548.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). เหตุปัจจัยในปฏิจจสมุปบาทและกรรม. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

.(2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-02-2024

ฉบับ

บท

บทวิจารณ์หนังสือ