ศึกษาการใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการแก้ปัญหาความยากจน
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, ปัญหาความยากจนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลักพุทธธรรมแก้ปัญหาความยากจน จากการศึกษาพบว่า ปัญหาความยากจน จะหมายถึงความลำบาก อัตคัดขัดสน ขาดแคลนปัจจัย 4 ที่เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค อันเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานต่ำสุดของมนุษย์ รวมถึงความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจจนไม่สามารถจัดสรรหรือแสวงหาสิ่งที่จะนำมาบำบัดความต้องการได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจได้จนมีสภาพความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่สังคมวางไว้และถือว่าเป็นความทุกข์อย่างยิ่งของมนุษย์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาการพึ่งตนเองไม่ได้ ภัยธรรมชาติ การกระจายรายได้ การเมือง สงคราม อาชญากรรม การทุจริตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปัญหาสุขภาพ ถูกฉ้อโกง การพนัน และปัญหาวัตถุนิยม สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนเลือกนำมาศึกษา 2 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาความยากจนที่เกิดจากอบายมุข แก้ด้วยหลักอริยสัจ 4 เพื่อให้รู้เท่าทันความเสื่อมที่จะเกิดขึ้นและหาวิธีหักห้ามใจไม่ให้ตกไปสู่ความเสื่อม หลักอิทธิบาท 4 นำมาสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย และเสริมความแข็งแกร่งของจิตด้วยหลักกัลยาณมิตตตาช่วยในการคบหาสมาคมกับมิตรแท้ ส่วนการแก้ปัญหาความยากจนที่เกิดจากปัญหาทางการเมืองและปัญหาคอรัปชั่น แก้ด้วยหลักอริยสัจ 4 ช่วยให้มองเห็นปัญหาที่จะก่อให้เกิดทุกข์ที่เกิดจากการเมืองและปัญหาการคอรัปชั่นที่เกิดจากความโลภ ความโกรธ และความหลง และพัฒนาจิตใจด้วยหลักทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 มุ่งเน้นสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์กับบ้านเมือง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจิตด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 ที่ช่วยให้เกิดความสามัคคีทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
References
กระมล ทองธรรมชาติ และอานนท์ อาภาภิรมย์. (2520). สังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ จำกัด.
กิตติศักดิ์แท่งทอง. (2563). “แนวโน้มการศึกษาไทยยุค New Normal”. วารสารสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563).
ไทยโพสต์. “17 ปีที่รอคอย 'พิพิธภัณฑ์สึนามิ' เสร็จสมบูรณ์แล้ว”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/106567 [15 กรกฎาคม 2566]
ประสาท หลักศิลา. (2540). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
พระอุทิศ อภิวโร. “การศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาชีวิตและเศรษฐกิจ”. วารสารบัณฑิต ศาสตร์ มมร. ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 พ.ย.-เม.ย. 2548.
พัชรินทร์ ปลอดฤทธิ์, เมตตา เมืองไพศาล และคณะ. (2541). ประเมินผลโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของกรมการพัฒนาชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. คณะรัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บ.นานมี บุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
สุพัตรา สุภาพ. (2542). ปัญหาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.