การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อประสม เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบ ๆ ตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนวัดด่านช้าง
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สื่อประสม, สิ่งมีชีวิตบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องสิ่งมีชีวิตรอบ ๆ ตัว โดยใช้การเรียนรู้แบบสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบสื่อประสม กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดด่านช้าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
(1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องสิ่งมีชีวิตรอบ ๆ ตัว โดยใช้การเรียนรู้แบบสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 4 นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
(2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อประสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรมวิชาการ. (2001). เอกสารชุดเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรูhที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ: โครงงาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
เกศรา น้อยมานพ, ทรงศรี สารภูษิต, จรีวรรณ ชัยอารีย์เลิศ, วชิราภรณ์ ราชบุรี และ สวาสดิ์ วารินกุฎ. (2020). การศึกษาทักษะชีวิตตามแนวทางของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ. ศ. 2551 กระทรวงศึกษาธิการ ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 27-35.
จิรศักดิ์ ขวัญสุข, & บำรุง ชำนาญเรือ. (2021). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการพินิจวรรณคดีไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. วารสารมจรพุทธปัญญา ปริทรรศน์, 6(3), 24-34.
วลีรัตน์ พะโยธร. (2021). การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ตาม แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมใหม่: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบ สนอง ข้อสอบ. วารสารสหวิทยาการ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 117-130.
นิตยา โสตทิพย์. (2009). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปากับแบบปกติ. arichart Journal, Thaksin University, 22(1), 91-107.
พูนสุข อุดม,สมจิตร อุดม. (2020). การวิเคราะห์ความรู้สำคัญสำหรับการสร้างหลักสูตรความเป็นเลิศ ด้านวิทยาศาสตร์ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(2), 95-111.
สุนันทา ยินดีรมย์ บุญเรือง ศรีเหรัญ และชาตรี เกิดธรรม. (2014). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3”. วารสารบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์.
สุวารี ไวยวุฒินันท์ (2013). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพปากและฟันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อประสม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 143-172.
สาวิตรี เรืองจันทร์. การพัฒนาสื่อประสม ประกอบการเรียนการสอนวิชาวัสดุวิศวกรรม = Development of instructional multimedia for engineering materials course.
อัจฉรีย์ พิมพิมูล. (2021). การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาขั้นตอนวิธีและการเขียนโปรแกรม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(2), 12-26.
Kwunsakul, K. (2018). การพัฒนาสื่อประสมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับวีดิโอโมชั่นกราฟิก เรื่องพัฒนาการและระบบการพิมพ์สำหรับนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Walailak Journal of Learning Innovations, 4(2), 59-76.
Pimpimool, A., & Morachat, W. (2021). การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชานวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา สำหรับนักศึกษา.
KHUNTANTA, N., & Homfung, C. (2022). THE DEVELOPMENT OF IMAGINARY STORY WRITING ABILITYOF PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS USING MULTIMEDIAAND GRAPHIC ORGANIZER (Doctoral dissertation, Silpakorn University).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.