รูปแบบการเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในยุคปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • ประพันธ์ นึกกระโทก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การเผยแผ่ธรรม, สถานีวิทยุกระจายเสียง, ยุคปัจจุบัน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในยุคปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าสถานีวิทยุมีประโยชน์อย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าจะดูเป็นสื่อที่เก่าเกินไปสำหรับยุคปัจจุบัน แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังมีความพอใจใช้สื่อวิทยุ เพื่อรับฟังธรรมะ รับฟังข่าวสารต่าง ๆ เช่น ข่าวการศึกษา ข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง นานาสาระธรรมและข่าวสารบันเทิงต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย สามารถช่วยบรรเทาภาวะความเครียดต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะเมื่อได้ฟังเสียงธรรมจากสถานีวิทยุ ซึ่งมีทั้งดีเจที่ตนชื่นชอบมีการสนทนาโต้ตอบกับผู้ฟังผ่านการจัดรายการสด และเทปบรรยายธรรมของพระสุปฏิปันโน ก็จะทำให้มีจิตใจเบิกบานมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ผู้เผยแผ่ธรรม หรือนักจัดรายการวิทยุ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเผยแผ่ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน ในเรื่องของการเป็นผู้ส่งสารที่ดี คุณสมบัติของนักเผยแผ่ที่ดี หากปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะทำให้เข้าถึงความถูกต้อง และเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นอีกด้วย

นอกจากนี้การใช้สื่อออนไลน์ควบคู่กับวิทยุ เช่น เฟซบุ๊ก และยูทูบ เพื่อเพิ่มช่องทางการเผยแผ่ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น และตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้ฟังในยุคปัจจุบัน

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2531). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม

สุวัฒน์ จันทรจำนง. (2540). ความเชื่อของมนุษย์เกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2550). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น วัฒนธรรม และสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงสังคม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

การเผยแผ่ธรรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-11-2024