วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ <p><strong>ISSN 3027-7930 (Online)</strong></p> <p>วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และรับตีพิมพ์ผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ <br />1. ด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Arts and Humanities) <br />2. ด้านธุรกิจ การจัดการและการบัญชี (Business, Management and Accounting) <br />3. ด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) อาทิ การศึกษา กฎหมาย บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้องกับด้านสังคมศาสตร์</p> th-TH khthamonwan@tsu.ac.th (ธมลวรรณ ขุนไพชิต) tittaya@tsu.ac.th (ทิตยา จันทร์สุข) Wed, 31 Jul 2024 19:22:07 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/991 <p>-</p> ธมลวรรณ ขุนไพชิต Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/991 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการประชาธิปไตยชุมชนเพื่อการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลนาดี จังหวัดอุดรธานี https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/992 <p>กระบวนการประชาธิปไตยชุมชนที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อการถอดบทเรียนของกระบวนการประชาธิปไตยชุมชน และการค้นหาแนวทางการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลนาดี โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากการศึกษา พบว่า ดำเนินการในลักษณะมีความเป็นอิสระและมีความพยายามสร้างการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยอิสระและการมีมติภายหลังเสมอหากในคราวการหารือประเด็นต่าง ๆ มีข้อถกเถียงและจำเป็นต้องได้ข้อยุติ เพื่อการนำไปดำเนินการต่าง ๆ โดยอิสระ ปราศจากการชี้นำของผู้นำชุมชนและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลและมีความเสมอภาคของผู้เข้าร่วม ประชาชนทุกคนสามารถนำเสนอได้และมีความพร้อมในการเสนอแนวคิดและแนวทาง ในขณะที่บางส่วนแม้ไม่ได้เป็นผู้เสนอแต่เป็นผู้ปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ได้ดี โดยกลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นตรงกันว่า การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาดีเป็นต้นแบบการดำเนินการที่ก่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีและถือเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้เป็นต้นแบบของการนำไปจัดการขั้นตอนของการสร้างกระบวนการประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในชุมชน จากฐานรากของปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม</p> วลีรัตน์ แสงไชย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/992 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 กลวิธีการใช้ภาษาเสียดสีใน “เพจคาราโอเกะชั้นใต้ดิน” https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/993 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาเสียดสีใน “เพจคาราโอเกะชั้นใต้ดิน” เก็บรวบรวมข้อมูลโพสต์ในเพจคาราโอเกะชั้นใต้ดิน ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 - 30 ตุลาคม 2565 จำนวน 120 โพสต์ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงเฉพาะโพสต์ที่มีจำนวนผู้กดถูกใจ 10,000 ครั้งขึ้นไป นำข้อมูลมาวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาเสียดสีจากเนื้อเพลง โดยนำข้อความพาดหัวและภาพประกอบในโพสต์มาพิจารณาประกอบการวิเคราะห์และคิดค่าร้อยละของแต่ละกลวิธีจากจำนวนโพสต์ที่พบโดยปรับกรอบแนวคิดจากงานวิจัยของ อุมาภรณ์ สังขมาน เรื่อง “กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมเสียดสีเพื่อสร้างความตลกขบขันของไทย” ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า มีการนำบทเพลงที่มีชื่อเสียงทั้งในอดีตและปัจจุบัน จำนวน 95 เพลง มานำเสนอในโพสต์ โดยพบกลวิธีการใช้ภาษาเสียดสี 5 กลวิธี ตามลำดับที่พบ ได้แก่ 1) การใช้ถ้อยคำล้อเลียน พบ 50 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 41.67 2) การใช้ถ้อยคำเหน็บแนม พบ 40 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 33.33 3) การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ พบ 20 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 16.67 4) การใช้ถ้อยคำประชดประชัน พบ 13 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 10.83 และ 5) การใช้ถ้อยคำเชิงเปรียบ พบ 6 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 5.00 ข้อมูลการโพสต์ทั้ง 120 โพสต์ เป็นการเสียดสีการทำงานของนักการเมือง ผู้นำประเทศ และรัฐบาล ซึ่งกลวิธีการเสียดสีเหล่านี้ก่อให้เกิดความหมายบ่งชี้ที่มีความหมายโดยนัย เป็นการใช้ภาษาด้วยวัจนกรรมอ้อมซึ่งผู้รับสารจำเป็นต้องตีความ</p> อนัญญา ชอบงาม, รุ่งรัตน์ ทองสกุล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/993 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมทางศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าสำหรับเยาวชนจากการวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ของงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/994 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมทางศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าสำหรับเยาวชนจากการวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ของงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ กลุ่มประชากรตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปหัตถกรรมภาคใต้ในแต่ละประเภทและกลุ่มเยาวชน ในจังหวัดสงขลาที่มีอายุ 15-25 ปี เป็นวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Design) เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมศิลปะจากการวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมละ 2 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 วัน วันละ 3 กิจกรรม 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมศิลปะ เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 3) แบบวัดเครื่องมือการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรมศิลปะ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อกิจกรรมศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบของอัตลักษณ์ที่สำคัญ คือ สีสันที่ใช้มีความสดใสเป็นพิเศษเล่นสีที่มีลักษณะตัดกันอย่างชัดเจนและมีการตกแต่งด้วยลวดลายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติในท้องถิ่น การใช้วัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นภาคใต้ชุดของกิจกรรมศิลปะที่พัฒนาขึ้นจากการวิเคราะห์รูปแบบของอัตลักษณ์ประกอบด้วยกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ จำนวน6 กิจกรรม 1) ขีดเขียนลายหม้อสทิงหม้อ 2) ตกแต่งโลหะด้วยวิธีการทำเครื่องถมเมืองนคร 3) กิจกรรมแกะลายสมุดด้วยลายเว่า 4) กิจกรรมเติมแต่งลายผ้ายก 5) กิจกรรมสานลายย่านลิเภา 6) กิจกรรมแกะลายของตกแต่งหนังตะลุง ใช้เวลาในการปฏิบัติจำนวน 1 ชั่วโมงต่อกิจกรรม และผลจากการนำกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ พบว่า หลังทำกิจกรรมเยาวชนมีค่าเฉลี่ยการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> ธีติ พฤกษ์อุดม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/994 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากรผู้รับสัมผัสอากาศภายในอาคารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/995 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากรและผู้ใช้บริการ โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดพารามิเตอร์ทางคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ parameters) ที่ประกอบด้วยเครื่องมือ Anderson 1-stage cascade impactor ในการเก็บตัวอย่างเชื้อแบคทีเรีย (Bacteria) และเชื้อรา (Fungi) แล้วนำมาวิเคราะห์หาปริมาณของเชื้อ พร้อมทั้งการตรวจวัดอุณหภูมิทั้งภายในและภายนอกอาคาร และมีการใช้แบบสอบถามปัญหาสุขภาพของผู้ที่อยู่ในอาคาร เพื่อนำมาแปลผลคุณภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อผู้รับสัมผัสมลพิษอากาศภายในอาคาร ในกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในหอสมุด จำนวน 20 คน และผู้ใช้บริการอีก 349 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษา พบว่า อุณหภูมิทั้งภายนอกและภายในอาคาร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาวะสบายเชิงความร้อนมีอุณหภูมิระหว่าง 24.53-26.40 °C เมื่อเปรียบเทียบกับค่าอุณหภูมิที่เหมาะสมภายในอาคารที่กำหนดในประกาศกรมอนามัยซึ่งมีค่าระหว่าง 24.0-26.0 °C ภายในอาคารสำนักหอสมุดจึงมีอุณหภูมิที่เหมาะสมเป็นไปตามเกณฑ์ ส่วนปริมาณความเข้มข้นของเชื้อแบคทีเรียเละเชื้อราไม่มีบริเวณใดที่ค่าความเข้มข้นเกินเกณฑ์มาตรฐานจึงไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่อาจมีอาการ Sick Building Syndrome หากได้รับการสัมผัสแบคทีเรียและเชื้อราโดยตรง เช่น อาการแน่นจมูก ไอ คอแห้ง และปวดศีรษะ เป็นต้น ซึ่งจะพบในกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานมากกว่ากลุ่มผู้ใช้บริการเนื่องจากใช้เวลาอยู่ในอาคารทุกวัน โดยประมาณ 7-8 ชั่วโมง</p> กฤษฎาธาร ชูช่วย, สุวรรณี ผุดสุวรรณ, สุปานดี มณีโลกย์, โสมศิริ เดชารัตน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/995 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/202 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และ 2) ศึกษาปัจจัยด้านประชากร แรงจูงใจ ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ประชากรในการวิจัย คือ คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยที่เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ จำนวน 385 ตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ มี 6 ปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้งาน แรงจูงใจ การให้บริการส่วนบุคคล การรักษาความเป็นส่วนตัว ราคา และอายุ โดยทั้ง 6 ปัจจัยส่งผลในทิศทางเดียวกันกับการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งนี้ปัจจัยทั้งหมดสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ร้อยละ 52.7</p> นราธร ปรังพันธ์, พงศ์สวัสดิ์ แก้วยศสกุล, ภัคจิรา นุ่นนา, ภัทราพร นุ่นนา, มินตรา ลิ่มสนิท, เจษฎา นกน้อย Copyright (c) 2024 วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/202 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของทัศนคติและการยอมรับเทคโนโลยีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/309 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่ออธิบายระดับความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา 2) เพื่อพิจารณาอิทธิพลของปัจจัยด้านทัศนคติและปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในจังหวัดสงขลา สุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) จำนวน 405 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลาอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านทัศนคติ ได้แก่ พฤติกรรมและความรู้สึก และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์และการรับรู้ถึงความเสี่ยงส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> เสาวลักษณ์ หนูตีด, ปนัดดา วรรณโรจน์ , พิชามญชุ์ แก้วบุตร , วรรณภรณ์ บริพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/309 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/285 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การเขียนวิชาภาษาไทยที่ส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นภาระงานที่สังเคราะห์จาก ร็อด เอลลิส (Rod Ellis) และเดวิด วิลลิส กับเจน วิลลิส (David Willis and Jane Willis) ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะด้านภาษาผ่านภาระงานที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของตนเองโดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกและชี้แนะด้านการใช้ภาษา บทความนี้นำเสนอความหมายและประเภทของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นภาระงาน ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นภาระงาน ประโยชน์ของการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นภาระงาน และแนวทาง/ตัวอย่างจัดการเรียนรู้ โดยเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ และข้อควรคำนึงสำหรับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นภาระงานอันจะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อไป</p> สุรพงษ์ กล่ำบุตร, มาเรียม นิลพันธุ์, ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย Copyright (c) 2024 วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/285 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน "เพื่อสร้างความหมายใหม่ในการเรียนรู้” เชื่อมโลกและห้องเรียนไว้ด้วยกัน https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/308 <p>-</p> นฤดล จันทรเพ็ชร์ Copyright (c) 2024 วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/308 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700