https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/issue/feed วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ 2023-07-26T13:49:52+07:00 ธมลวรรณ ขุนไพชิต [email protected] Open Journal Systems <p><strong>ISSN 3027-7930 (Online)</strong></p> <p>วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และรับตีพิมพ์ผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ <br />1. ด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Arts and Humanities) <br />2. ด้านธุรกิจ การจัดการและการบัญชี (Business, Management and Accounting) <br />3. ด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) อาทิ การศึกษา กฎหมาย บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้องกับด้านสังคมศาสตร์</p> https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/117 บทบรรณาธิการ 2023-07-26T13:49:52+07:00 ธมลวรรณ ขุนไพชิต [email protected] <p>-</p> 2023-07-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/108 การพยากรณ์ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อวางกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขายภายใต้ภาวะการแข่งขันสูง 2023-07-26T09:17:36+07:00 กุลวดี จันทร์วิเชียร [email protected] พัทธนันท์ อธิตัง [email protected] วาสนา สุวรรณวิจิตร [email protected] <p>บทความนี้นำเสนอวิธีการสร้างตัวแบบยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อวางกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขายภายใต้ภาวการณ์แข่งขันสูง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหาตัวแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการพยากรณ์ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2560-2564 โดยใช้การวิเคราะห์ ข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (Time-Series Models) ด้วยวิธี Decomposition วิธี Moving Average วิธี Single Exponential Smoothing วิธีDouble Exponential Smoothing วิธี Winters’ Exponential Smoothing ผ่านการใช้โปรแกรม Minitab จะประเมินจากผลของค่าความคลาดเคลื่อนของค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดสมบูรณ์ (MAPE) ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด (MAD) ค่าความผิดพลาดค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนกําลังสอง (MSD) วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับตัวแบบยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย คือ Moving Average ซึ่งให้ค่าความคลาดเคลื่อนที่ต่ำที่สุด และใช้วิธีการพยากรณ์ดังกล่าวพยากรณ์เป็นกรณีศึกษาในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อใช้ประกอบการวางแผนและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ต่อไป</p> 2023-07-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/110 การพัฒนาการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษาและการใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับวิชาประชากรและการอนามัยเจริญพันธุ์ 2023-07-26T09:42:09+07:00 พิษนุ อภิสมาจารโยธิน [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษาในบริบทการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย จำนวน 218 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และทำการสอนกับนักศึกษา 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 60 คน) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้การเรียนการสอนรูปแบบปกติและกลุ่มที่ทำการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าควรพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษาในบริบทการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมาก (&nbsp;<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=4.32) ซึ่งการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใช้การบูรณาการสะเต็มศึกษากับเนื้อหาของวิชาโดยจัดการสภาพแวดล้อมหรือบริบทการเรียนรู้ตามหลักของการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งมีลักษณะผสมผสานระหว่างการเรียนการสอนในห้องเรียน และการค้นคว้าด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการประเมินประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ (&nbsp;<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=4.60) คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักศึกษาระหว่างการจัดการเรียนการสอนรูปแบบปกติกับการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก (&nbsp;<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=4.08)</p> 2023-07-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/111 การมีส่วนร่วมของอาจารย์ในการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ของ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2023-07-26T09:58:30+07:00 ศิริพร แซ่อึ้ง [email protected] ลัดดาวัลย์ ลี้ละไกรวรรณ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ ปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ และความต้องการมีส่วนร่วมของอาจารย์ในการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้ที่เคยใช้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ของสำนักหอสมุดกลาง จำนวน 13 คณะ โดยการสุ่มแบบเจาะจงและได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 126 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ยังได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ จำนวน 12 คน ผลการวิจัย พบว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในกลุ่มสังกัดทางสังคมศาสตร์ ตำแหน่งอาจารย์ที่สอนในระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การสอน 1-5 ปี ทราบว่าสำนักหอสมุดกลางมีบริการฐานข้อมูลออนไลน์จากเว็บไซต์มากที่สุด รองลงมา คือ การประชาสัมพันธ์ของสำนักหอสมุดกลาง ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้มากที่สุด คือ ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาไทย และฐานข้อมูล SpringerLink - Journal ด้านปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีปัญหาระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านฐานข้อมูล พบว่า ฐานข้อมูลออนไลน์ไม่มีเอกสารฉบับเต็มหรือมีน้อยเกินไป ส่วนด้านผู้ให้บริการและด้านระบบเครือข่ายมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และด้านผู้ใช้บริการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด การมีส่วนร่วมในการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ของสำนักหอสมุดกลางโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งอาจารย์ต้องการมีส่วนร่วมในด้านการส่งเสริมการบริการอยู่ในระดับมาก คือ การอบรมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ ส่วนด้านกระบวนการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง คือ การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ การสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า ต้องการใช้และเสนอให้พิจารณาฐานข้อมูลทั้งทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ส่วนใหญ่ยังขาดทักษะและความรู้ในการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ ด้านผู้ให้บริการยังขาดการประชาสัมพันธ์แหล่งสารสนเทศของผลงานวิชาการ งานวิจัย และต้องการให้แนะนำฐานข้อมูลใหม่ ๆ หรือแจ้งฐานข้อมูลออนไลน์ให้ทราบในแต่ละปีงบประมาณให้กลุ่มอาจารย์ทราบ เพื่อช่วยให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการพิจารณา ด้านระบบเครือข่ายส่วนใหญ่มีปัญหาในการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย และต้องการมีส่วนร่วมในการประเมิน การใช้ฐานข้อมูล รวมทั้งเสนอให้มีการจัดแผนการอบรมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์</p> 2023-07-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/112 การศึกษาองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2023-07-26T10:54:52+07:00 ปทิตตา ติวงค์ [email protected] สุนทรี วรรณไพเราะ [email protected] อมลวรรณ วีระธรรมโม [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 โดยมีผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ 1) ศึกษา เอกสาร ตำรา บทความ แนวคิด ทฤษฎี รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วยการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา การบริหารสู่ความเป็นเลิศ การบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ได้องค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 9 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) ซึ่งกำหนดผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะจง เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ภายใต้องค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา การวางแผนกลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร การบริหารงานบุคคล การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานทั่วไป การจัดการสารสนเทศและความรู้ และการมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน และขั้นตอนที่ 3) การจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับนโยบาย จำนวน 2 คน ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 คน และอาจารย์หรืออาจารย์พิเศษที่สอนระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน รวมทั้งหมด จำนวน 13 คน เพื่อยืนยันองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัย พบว่า จากการสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้รูปแบบการบริหารการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ และ 31 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ 2) การวางแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ 3) การบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ 4) การบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ 5) การบริหารงานงบประมาณ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ 6) การบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ และ 7) การมุ่งเน้นนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้</p> 2023-07-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/113 ความหลากหลายของกระบวนทัศน์ใหม่ในการเมืองฐานราก: ภาพสะท้อนมุมมองผู้ปฏิบัติการทางการเมืองท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2023-07-26T11:15:18+07:00 อัศว์ศิริ ลาปีอี [email protected] <p>บทความวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองท้องถิ่น บนฐานการประกอบสร้างฉากทัศน์ทางการเมืองที่แตกต่างกันระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ อันสะท้อนถึงการช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดสู่การผลิตซ้ำมุมมองความหลากหลายว่าด้วยการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ผ่านสนามการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งได้มาด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง รวมจำนวน 11 คน ประกอบด้วย กลุ่มที่สะท้อนมุมมองการเปลี่ยนผ่านบริบทการเมืองในภาพรวม กลุ่มผู้ปฏิบัติการทางการเมืองท้องถิ่นและกลุ่มนักวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยด้วยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองท้องถิ่นแนววิพากษ์ประกอบการตีความสร้างข้อสรุป โดยผลการวิจัย พบว่า ปรากฏการณ์ทางการเมืองท้องถิ่นเป็นผลสะท้อนภาพความแตกต่างของจุดยืนทางญาณวิทยาระหว่าง “การเมืองเรื่องพื้นที่” และ “การพัฒนาผลิตภาพขององค์การ” ซึ่งสัมพันธ์กับการประกอบสร้างฉากทัศน์ทางการเมืองที่ต่างกันระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ ขณะเดียวกันความเชื่อมโยงทางญาณวิทยาและแนวการศึกษาท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อการปรับกระบวนทัศน์ใหม่นั้น ควรเน้นกระบวนการสร้างการยอมรับความหลากหลายทางความคิดมากขึ้น ถือเป็นข้อเสนอสำหรับการก้าวข้ามอุปสรรคของขั้วตรงข้ามระหว่าง ผู้ปฏิบัติการไปสู่การสร้างดุลยภาพใหม่ภายใต้กลไกการร่วมผสานความรู้ และร่วมทบทวนวิธีการแสวงหาความรู้สู่การตอบสนองรูปแบบจัดการปัญหาทับซ้อน ในพื้นที่ ทั้งยังสนับสนุนกระบวนการสร้างแนวทางพัฒนาการเมืองท้องถิ่นซึ่งสอดรับกับบริบทจังหวัดสุราษฎร์ธานี</p> 2023-07-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/114 แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย 2023-07-26T11:26:49+07:00 ปรีชา ตั้งสุขขีย์ศิริ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูในสถานศึกษาและครูฝึกในสถานประกอบการ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อคำถาม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ และด้านความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัย พบว่า 1. การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดี 2. แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย พบว่า สามารถเสนอแนวทางพัฒนา 4 ด้าน คือ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียนหรือผู้สำเร็จการศึกษาควรมีการเพิ่มและพัฒนาขีดความสามารถในการเตรียมความพร้อมของนักเรียน นักศึกษาระบบทวิภาคีก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน 2) ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ควรพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การปรับปรุงหลักสูตร และพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐานวิชาชีพและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในยุค New Normal 3) ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ โดยจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา แผนปฏิบัติการการศึกษาระบบทวิภาคี และแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา บริหารระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาให้ทันสมัยและเหมาะสมกับวิถีชีวิตใหม่ 4) ด้านความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ มีการสร้างและพัฒนาความรู้ ทักษะในการวางการศึกษาระบบทวิภาคีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ขยายเครือข่ายตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการให้เพิ่มมากขึ้น</p> 2023-07-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/115 ศึกษาการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 2023-07-26T11:38:09+07:00 ชุติมา เพชรคง [email protected] โซเฟียร์ ดอเล๊าะ [email protected] อายูณีห์ อาแว [email protected] บุหงา เหมสวาท [email protected] ปารณีย์ อายุสุข [email protected] วรัญญา ดิสโร [email protected] อาลียัส เส็ง [email protected] วสันต์ กาญจนมุกดา [email protected] วิทยา ขาวขจร [email protected] <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชน จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน จำนวนสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน และทุนจดทะเบียนของวิสาหกิจชุมชน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 35 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที และค่าทดสอบเอฟ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 30-39 ปี สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส./ปวท./อนุปริญญา มีประสบการณ์ในการทำงาน 4 ปีขึ้นไป มีลักษณะการทำบัญชีด้วยมือ และไม่ใช้โปรแกรมประยุกต์ในการดำเนินงาน มีจำนวนสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนจำนวน 21-30 คน และมีทุนจดทะเบียนของวิสาหกิจชุมชนอยู่ในทุนระหว่าง 10,000-50,000 บาท มีการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารวิสาหกิจชุมชนจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน จำนวนสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน และทุนจดทะเบียนของวิสาหกิจชุมชน ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้น ประเด็นด้านการวิเคราะห์สถานะการเงินและผลประกอบการที่แตกต่างกัน ทั้งนี้จากการศึกษาทำให้ทราบถึงปัญหา และความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชน และเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาบุคลากร และการให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนต่อไป</p> 2023-07-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023