วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JSBR <p><strong>ISSN:</strong> 2985-2838 (Print) </p> <p><strong>กำหนดออก :</strong> 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม– สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม) </p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงทางด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญาศาสนา ภาษาบาลีสันสฤต การศึกษาเชิงประยุกต์ การพัฒนาชุมชม การพัฒนาสังคม รวมถึงสหวิทยาการอื่นๆ ของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบันการศึกษา</p> <p><strong>คำชี้แจงในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ</strong></p> <p>1. บทความที่ส่งมารับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งวิชาการอื่นๆ</p> <p>2. ทุกบทความจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดความลับของทั้งสองฝ่าย (Double blinded)</p> <p>3. ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ ทั้งนี้กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีข้อผูกพันด้วยประการใดๆ ทั้งปวง</p> สาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย th-TH วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ 2985-2838 การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JSBR/article/view/749 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร และการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรเป็นครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 290 คน กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 165 คน วิธีการดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้น ได้แก่ (1) ศึกษาปัญหาการวิจัย (2) การออกแบบการวิจัย (3) การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล และ (4) การเขียนรายงานการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ณัฐภูมินทร์ ยศแก้ว อธิพงษ์ คิดดี Copyright (c) 2024 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 2 2 1 12 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา เรื่องพุทธประวัติน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองบางกระทึก จังหวัดนครปฐม https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JSBR/article/view/924 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา เรื่องพุทธประวัติน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองบางกระทึก จังหวัดนครปฐม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา เรื่องพุทธประวัติน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองบางกระทึก จังหวัดนครปฐมกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนคลองบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 ห้องเรียนจำนวนนักเรียน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรื่องพุทธประวัติน่ารู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) จำนวน 1 แผนการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการณ์จัดการเรียนการสอน แบบบันทึก การใช้แผน การเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบฝึกหัด 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน</p> <p> ผลจาการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80 พบว่า คะแนนกิจกรรมระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.30 แสดงว่าประสิทธิภาพของกระบวนการสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 94.74 แสดงว่าประสิทธิภาพของกระบวนการสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่าแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการดำเนินการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างขึ้นอย่างมีระบบแบบแผน และผลการเปรียบเทียบของการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 75.30 คะแนน และค่า S.D เท่ากับ 2.33 หลังจากได้รับการทดสอบวัดผมสัมฤทธิ์หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 94.74 คะแนน และค่า S.D เท่ากับ 1.59 และเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนทดสอบก่อนเรียนมีค่า t ที่ระดับ 9.98 ปรากฏว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> ณัฐพร อินทร์เอ้ย พระมหาสามารถ ฐานิสฺสโร Copyright (c) 2024 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 2 2 13 22 การบริหารการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในศตวรรษที่ 21 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JSBR/article/view/805 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการบริหารการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในศตวรรษที่ 21 จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันคณะสงฆ์ไทยมีการจัดการศึกษาอยู่ 4 ลักษณะ ได้แก่ การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา การศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยสงฆ์ ดังนั้น ภายใต้ทักษะที่สำคัญ 3 อย่าง คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิต และการทำงาน และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยจึงควรมีรูปแบบการจัดการศึกษา และแนวทางการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม เป็นส่วนสำคัญที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในระบบการศึกษาทั่วโลก ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน 2) ด้านทักษะชีวิต และการทำงาน กระบวนการที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและความรู้ที่สำคัญสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจรวมถึงทักษะทางการสื่อสารการเรียนรู้ทางอารมณ์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมการทำงานและชีวิตประจำวันในสังคมของวันนี้และอนาคต และ 3) ด้านทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาทักษะและความรู้ในสถานศึกษาและชีวิตประจำวันในยุคปัจจุบัน ดังนั้น การจัดการศึกษาและการเรียนรู้ด้านทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีมีความสำคัญมากในการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนและบุคคลในสังคมในยุคปัจจุบัน</p> พระมหาเจษฏ์ฌกฤษฏ์ ปญฺญาธโร Copyright (c) 2024 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 2 2 23 34 แนวทางป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JSBR/article/view/935 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ พบว่า ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมักจะเกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นที่ถูกเชื่อมโยงกับการใช้อำนาจอันได้มาจากหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากประชาชนผู้ใช้บริการที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นนับเป็นปัญหาที่หยั่งรากลึกส่งผลกระทบต่อประเทศและระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อองค์กรตำรวจที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาที่ยาวนานสะสมเรื้อรังเป็นมะเร็งร้ายกัดกินสังคมส่งผลกระทบต่อระบบองค์กร สำหรับตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่รัฐทำหน้าที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายโดยจะทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานอยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีอำนาจในการจับกุม ตรวจค้น สืบสวน และสอบสวนผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมอันดับแรก ในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ตำแหน่งหน้าที่มาแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบได้ สำหรับแนวทางป้องกัน ด้านเศรษฐกิจและการครองชีพส่งเสริมให้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความพอประมาณ พอดี ใช้ชีวิตอยู่บนหลักการอย่างมีเหตุมีผล รอบรู้ มีคุณธรรม ด้านระบบบริหารราชการ ปฏิบัติตามแนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ดำเนินตามหลักนิติธรรม มีคุณธรรมและความโปร่งใสพร้อมทั้งความรับผิดชอบและจะต้องมีความคุ้มค่า ด้านสังคมวัฒนธรรมและศีลธรรมดำเนินตามกรอบของประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดไว้แล้วและด้านกฎหมายและวิธีการ เป็นการกำกับดูแลให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายที่ช่วยในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นอยู่ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ เพื่อให้ตำรวจเป็นผู้มีความเหมาะสมเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่คอยดูแลประชาชนให้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างสันติสุขด้วยการปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม</p> ปิยะนุช ศรีสรานุกรม Copyright (c) 2024 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 2 2 35 50 พระแก้วมรกตที่ปรากฏในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JSBR/article/view/559 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาเรื่องการสร้างพระพุทธรูปและสิ่งบูชาในพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาการสร้างพระแก้วมรกต 3. เพื่อวิเคราะห์พระแก้วมรกตที่ปรากฏในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า การสร้างพระพุทธรูปและสิ่งบูชาในพระพุทธศาสนา เริ่มต้นจากประวัติการสร้างพระพุทธรูป และพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์สำคัญหนึ่งในสามของพระรัตนตรัย อันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน การสร้างพระแก้วมรกต ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วมรกตทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานทางโบราณคดี เช่น รัตนพิมพ์วงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต พระรัตนปฏิมา หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นต้น</p> ดำเนิน ปัญญาผ่องใส พระครูวรวรรณวิทูรย์ Copyright (c) 2024 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 2 2 51 61