วารสารสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JISS th-TH [email protected] (สํานักงานวารสารสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์) [email protected] (สํานักงานวารสารสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์) Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 โมเดลการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์กร : ความเชื่อมโยงระหว่าง ทรัพยากรองค์กรแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JISS/article/view/677 <p>สภาพแวดล้อมองค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มขึ้น บทความวิชาการนี้เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากร องค์กรแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม เพื่อใช้ในการอธิบายโมเดลการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์กร ซึ่งพบว่า ผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กรต้องให้การสนับสนุนให้มีทรัพยากรที่เพียงพอ เพื่อให้บุคลากรพนักงานสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมทั้งการสร้างความร่วมมือทั้งบุคลากร หน่วยงานต่าง ๆ ภายในและภายนอกองค์กร โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยองค์กรจำเป็นต้องมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สอดประสานกับแนวทางการดำเนินงานขององค์กร ด้วยกระบวนการรับคนเข้าดำรงตำแหน่ง กำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะของพนักงานให้ชัดเจน มีการประเมินผลการทำงานที่เน้นกระบวนการมากกว่าการประเมินผล นอกจากนี้องค์กรต้องใช้วิธีการให้รางวัลตามสถานการณ์ เพื่อสนับสนุนให้พนักงานมีคำมั่นสัญญาในการเรียนรู้ และเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต</p> พระครูรัตนสุตาภรณ์ Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JISS/article/view/677 Thu, 25 Jan 2024 00:00:00 +0700 นโยบายการจัดการอัตราการว่างงาน https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JISS/article/view/678 <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการลดอัตราการว่างงาน ซึ่งปัญหาการว่างงานถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ คือ นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง ใช้นโยบายงบประมาณแบบขาดดุล โดยการใช้จ่ายควรกระจายงบไปยังท้องถิ่น สร้างรายได้ให้กับแรงงานที่ไม่มีงานทำ และนโยบายการเงิน ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ต้องระวังไม่ให้กระทบเงินเฟ้อ เพื่อลดผลกระทบอัตราการว่างงานในสังคมไทย วิกฤตเศรษฐกิจและพิษโควิด-19 ทำให้การจ้างงานลดลงและยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาการว่างงานตามมา ดังนั้นนโยบายเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ยกเลิก Thailand Pass ทำให้การจ้างงานด้านธุรกิจท่องเที่ยวและบริการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งภาครัฐควรสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจ SMEs มีมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน โดยการพักชำระหนี้ การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและลดเงื่อนไขให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงิน เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเงินทุนหมุนเวียนฟื้นตัวขึ้นมาเป็นฟันเฟืองให้เกิดการจ้างงานในระบบต่อไป</p> จิตราภรณ์ จิตตานุรักษ์ Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JISS/article/view/678 Thu, 25 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาช่องทางการช่วยเหลือกฎหมายต่อประชาชน ของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JISS/article/view/676 <p>สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์จัดตั้งขึ้นนอกจากการยึดโยงกับกฎหมายบ้านเมืองและช่วยเหลือสมาชิกขององค์กรแล้วยังต้องสร้างความคาดหวังให้กับสังคมไทยที่ต้องเป็นเสาหลักแห่งความยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆ อย่างกล้าหาญเพื่อลดความบกพร่องแห่งการใช้อำนาจทั้งฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร ทั้งนี้ความคาดหวังดังกล่าวจะต้องสร้างความชัดเจนในการยืนหยัดกับความถูกต้อง ชอบธรรมให้มากขึ้นที่สามารถปกป้องดูแลผลประโยชน์ของสังคมและประชาชนเป็นที่ตั้ง แต่ทั้งนี้ที่ผ่านมาการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สามารถเอาผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้จะมีให้เห็นอยู่ในสังคม ซ้ำร้ายผู้ไม่กระทำความผิดกลับถูกตัดสินลงโทษทำให้สูญเสียความเป็นธรรมในสังคมอยู่มาก ดังนั้น บทบาทของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์จะต้องเร่งสร้างความชัดเจนแห่งผลงานทางกฎหมายเพื่อช่วยเหลือกลุ่มประชาชนที่เดือดร้อนและไม่ใช่ผู้กระทำความผิดอย่างแท้จริงจึงต้องเร่งการพัฒนาช่องทางการช่วยเหลือกฎหมายต่อประชาชนให้ครอบคลุมมากที่สุด และทันท่วงทีได้แก่ 1) การเพิ่มบทบาททนายทางสื่อสารมวลชนให้มากขึ้นทั้ง สื่อออนไลน์ทุกช่องทาง 2) การเป็นนักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ของทนายความ รวมทั้งศักยภาพการทำงานด้านกฎหมายของสมาชิกอื่น ๆ 3) การพัฒนาทีมนักกฎหมายให้ครอบคลุมทุกภูมิภาครวมทั้งการลงพื้นที่เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงองค์กรได้อย่างสะดวกสบาย 4) การพัฒนาเครือข่ายและกลุ่มทางสังคมผ่านการดึงหลักสูตรนักศึกษากฎหมายจากสถาบันการศึกษาเข้าร่วมงานให้มากขึ้น และ5) การพัฒนาหลักสูตรกฎหมายสำหรับผู้นำชุมชนที่สามารถให้บริการความรู้เกี่ยวกับกฎหมายบ้านเมืองให้กับผู้นำชุมชนทุกระดับ</p> ชนิกานต์ ธรรมเจริญ Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JISS/article/view/676 Thu, 25 Jan 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาการคุกคามทางเพศในสื่อออนไลน์ของประชากรในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JISS/article/view/675 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะการถูกคุกคามทางเพศในสื่อออนไลน์และเพื่อศึกษาเงื่อนไขที่ส่งผลต่อลักษณะของการถูกคุกคามทางเพศในสื่อออนไลน์ประชากรในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยวิธีแบบเจาะจง จำนวน 6 คน และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบและลักษณะการถูกคุกคามทางเพศในสื่อออนไลน์ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การกลั้นแกล้งทางเพศ 2) การลวนลามทางเพศ 3) การข่มขู่ทางเพศ และ 4) การอนาจารแก้แค้น สำหรับเงื่อนไขที่ส่งผลต่อลักษณะของการถูกคุกคามทางเพศในสื่อออนไลน์ ได้แก่ 1) ด้านหน้าตา 2) ด้านอายุ 3) ด้านเพศ 4) ด้านการแต่งกาย 5) ด้านการศึกษา 6) ด้านพื้นที่ และแนวทางการป้องกันการเกิดการถูกคุกคามทางเพศในสื่อออนไลน์ของประชากร ได้แก่ การบล็อกหรือไม่ตอบโต้ การรับมือกับคนที่คุกคามทางเพศในสถานการณ์แบบนี้คือ ไม่ตอบโต้หรือบล็อกไปเลยและเลือกรับเพื่อนที่สนิท ไม่รับคนแปลกหน้า หากเริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่ปลอดภัย ให้โทรแจ้งตำรวจหรือคนสนิททันที เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่ที่เสี่ยง ได้แก่ พื้นที่ที่เปลี่ยว ที่ลับตาคน และสถานที่เที่ยวกลางคืนต่างๆ</p> พัชรพร ดวงคำ, ปรัศชกร ทองอ่อน Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JISS/article/view/675 Thu, 25 Jan 2024 00:00:00 +0700