คุณภาพบริการของคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วย : บทบาทของการรับรู้ผลการรักษาในฐานะตัวแปรแทรก

Main Article Content

ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ผลการรักษาในฐานะตัวแปรแทรกในความ สัมพันธ์ระหว่างคุณภาพบริการของคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการและความพึงพอใจของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือผู้บริโภคที่เคยใช้บริการทางการแพทย์ของคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการแห่งหนึ่งใน 3 โรงพยาบาล ได้แก่ ศิริราชปิยมหาราชย์การุณ รามาธิบดี และ จุฬาลงกรณ์ ที่ได้จากการสุ่มเลือกแบบสะดวกจำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างที่ใช้คำถามปิดที่ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงโดยมีค่าอัลฟ่าของครอนบัคอยู่ในช่วง .72-.80 ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลและใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณที่ระดับความเชื่อมั่น .05 ในการตรวจสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพบริการส่งผลทางตรงต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยเท่ากับ .36 และส่งผลทางอ้อมต่อความพึงพอใจโดยผ่านตัวแปรแทรกคือการรับรู้ผลการรักษาเท่ากับ .12 สัมประสิทธิ์ความแม่นยำในการพยากรณ์ของแบบจำลองที่มีการรับรู้ผลการรักษาเป็นตัวแปรแทรกในความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพบริการและความพึงพอใจมีค่าเท่ากับร้อยละ 27.95

Article Details

บท
บทความวิจัย