พรหมวิหาร 4 : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธกับความเป็นพลเมืองดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนมีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธกับความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยการนำหลักพรหมวิหาร 4 เข้ามาประยุกต์ใช้ถือเป็นการศึกษาในเชิงวิชาการด้วยวิธีการในเชิงคุณภาพ (qualitative research) ด้วยการทบทวนวรรณกรรม จากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง (documentary research) อันประกอบด้วย หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล และหลักธรรมพรหมวิหาร 4 โดยนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ (analysis and synthesis) เรียบเรียงขึ้นใหม่ในลักษณะของบทความวิชาการ ทั้งนี้ ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมาก ทั้งการสื่อสาร การดำรงชีวิต การทำธุรกรรมต่างๆ หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ที่ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่ทำให้คนปฏิบัติเกิดแนวทางประเสริฐในการดำรงชีวิตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น จะมีส่วนช่วยให้สังคมดิจิทัลและความเป็นพลเมืองดิจิทัล มีความสุข ไม่เบียดเบียนกัน ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม