ความเหลื่อมล้ำ : ทางออกจากแนวคิดรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
เวลาพูดถึงความเหลื่อมล้ำ เหมือนเรากำลังพูดถึงอะไรสักอย่าง คือเรารู้แหละว่าความเหลื่อมล้ำมีอยู่จริง แต่รู้สึกว่าความเหลื่อมล้ำก็เป็นเรื่องของโลกทุนนิยม เราพยายามจะแก้ปัญหานี้กันมาอย่างเนิ่นนาน นานจนดูเหมือนว่าเราไม่น่าจะแก้เรื่องนี้ได้ ปัญหามีแต่จะใหญ่โต เหลื่อมล้ำกันมากขึ้นทุกวัน รัฐเสรีนิยมสมัยใหม่แสดงให้เห็นแล้วว่าแม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัว แต่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก็ไม่เคยกระจายได้ทั่วถึงคนทั้งประเทศ มีเพียงคน 1% ของประเทศที่ครอบครองทรัพย์สินทั้งประเทศกว่า 80% ในปัจจุบัน โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งขึ้น ทำให้ชนชั้นล่างต้องรับภาระจ่ายมากยิ่งขึ้น เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เป็นสังคมที่แปลกแยกมากขึ้น เราก็ไม่รู้ว่าชีวิตเป็นของเราเอง เวลาว่างก็ไม่รู้สึกว่า “เราพอ” เราต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เกิดเป็นสังคมทารก (infantalization) ที่คิดว่าเราอ่อนแอ คิดถึงแต่ตัวเอง สังคมที่รู้สึกผิด เครียด เหนื่อยล้า สิ้นหวัง (เลี้ยงพ่อแม่ได้ไม่ดี) สังคมที่ถวิลหา (who need me?) แม้ว่าเราจะมีเสรีภาพแต่ก็ไม่รู้จะเปลี่ยนแปลงได้ยังไง “รัฐสวัสดิการ ถ้วนหน้าครบวงจร” คือฉันทามติให้รัฐต้องมีอยู่เพื่อดูแลประชาชน เราจำเป็นต้องมีรัฐสวัสดิการ เพื่อความเสมอภาคในการดำรงอยู่ในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างจากประเทศสวีเดน ที่ในปี 1940 เปลี่ยนไปเป็นรัฐสวัสดิการ เพียงภายในไม่กี่ทศวรรษกลายเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่ง ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีที่สุดประเทศหนึ่ง ประเทศสวีเดนต่อสู้กับ Artificial Intelligence ด้วยการสร้างห้องสมุด ให้คนมีเวลา ให้คนว่าง และมีปฏิสัมพันธ์กันมากพอ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเก็บภาษีที่ไม่เอื้อประโยชน์ให้ชนชั้นบนเช่นกลุ่มทุนใหญ่ แต่ต้องมากระจายรายได้ให้ชนชั้นล่างมากขึ้น “ระบบรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้า” อาจจะสร้างบรรทัดฐานใหม่ในสังคม ยืนยันว่าช่วยสร้างความมั่นคงของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้น สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ และประชาชนสามารถทำตามความฝัน ทำสิ่งที่อยากทำได้มากขึ้น