https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JBURUS/issue/feed
วารสารบริหารธุรกิจราชมงคลสุวรรณภูมิ
2024-08-31T10:45:47+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภิญญดา รื่นสุข
pinyada3443@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong><img src="https://so14.tci-thaijo.org/public/site/images/nathaphan.m@rmutsb.ac.th/438216933-7514996428564495-1020633586491220758-n.jpg" alt="" width="1108" height="1477" /></strong></p> <p><strong>วารสารบริหารธุรกิจราชมงคลสุวรรณภูมิ</strong></p> <p><a href="https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JBURUS"><strong>https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JBURUS</strong></a></p> <p> </p> <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong></p> <p>วารสารบริหารธุรกิจราชมงคลสุวรรณภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในศาสตร์ดังนี้</p> <p>การจัดการองค์กรภาครัฐและภาคธุรกิจ การจัดการอุตสาหกรรม การบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารทรัพยกรมนุษย์ การบริหารการปฏิบัติการ การตลาด การตลาดดิจิทัล เอกชน ด้านการตลาด การบัญชี การเงินและการลงทุน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การจัดการนวัตกรรมบริการ รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม <br />และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p> </p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร</strong></p> <p> <strong>1) บทความพิเศษ (Special Articles)</strong> บทความพิเศษทางวิชาการที่นำเสนอองค์ความรู้ทางวิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการหรือวิชาชีพ</p> <p> <strong>2) บทความวิชาการ (Academic Article)</strong> เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิดใหม่ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แก่คนทั่วไป</p> <p> <strong>3) บทความวิจัย (Research Article)</strong> เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ และมีความมุ่งหมายชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้า หรือการนำวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความวิจัยมีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น มีการตั้งสมมติฐานหรือมีการกำหนดปัญหาที่ชัดเจน สมเหตุ โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่เด่นชัด แน่นอน มีการรวบรวมข้อมูล พิจารณาวิเคราะห์ ตีความ และสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบหรือบรรลุวัตถุประสงค์</p> <p><strong> 4) บทความปริทรรศน์ (Review Article)</strong> เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร</strong></p> <p> กำหนดเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ </p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน</p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม</p> <p> ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p> วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ได้รับตีพิมพ์จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind Peer Review) โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยเสนอหรือกำลังตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน</p> <p> รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอดผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 20%</p> <p> ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบริหารธุรกิจราชมงคลสุวรรณภูมิ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <p> </p> <div id="history"> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารนี้ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ โดยได้รับการสนับสนุนวารสารจาก คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ</p> </div>
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JBURUS/article/view/983
ความฉลาดรู้ทางการเงินในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
2024-08-20T10:13:15+07:00
โชคลาภ มั่นคง
choklap.m@rmutsb.ac.th
กนกพร ภาคีฉาย
kartoonake@gmail.com
กนกกาญจน์ กล่อมเกลา
kanokkarn.k@rmutsb.ac.th
ชุตินันท์ วิลามาศ
chutinun.w@rmutsb.ac.th
ศศินันท์ ศาสตร์สาระ
sasinan.s@rmutsb.ac.th
<p>การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสร้างผลกระทบในระดับบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยแรงงานที่มีภาระในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทำให้ประชากรวัยแรงงานมีแรงกดดันด้านการสร้างผลิตภาพให้ประเทศมากขึ้น ประเทศอาจขาดแคลนแรงงาน รวมไปถึงทำให้เกิดวิกฤติการคลัง จากภาระรัฐบาล<br />ด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ รวมไปถึงผลกระทบของผู้สูงอายุที่มีสภาวะขาดเงินออม ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการ<br />มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทิศทางการพัฒนาในปัจจุบันยังคงมีเพียงการใช้โครงสร้างทางสังคมจากภาครัฐ เพื่อมากำหนดพฤติกรรมให้กลุ่มคนก่อนสูงวัยได้เตรียมความพร้อม โดยการบังคับออมเพื่อเกษียณ ซึ่งบทบาทส่วนใหญ่มาจากภายนอกตัวบุคคล และเป็นภาระหน้าที่ของภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ ในรูปแบบของสวัสดิการสังคม อาทิ การมีระบบบำนาญแห่งชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและรัฐควรทำ แต่อาจยังไม่ได้มองปัญหาได้อย่างครบถ้วนและรอบด้านนัก สิ่งที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกันนั้นคือการปลูกฝังคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ดีภายในตัวบุคคลสะท้อนถึงการมีความฉลาดรู้ด้วยการมีวินัยแห่งตน (Discipline) ยังคงมีคำถามกับการพัฒนาในอนาคตที่ต้องอาศัยการเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการเตรีมความพร้อมทางการเงิน โดยต้องอาศัยการสร้างกระบวนการบางอย่างที่จะสามารถเสริมสร้างความฉลาดรู้ทางการเงินให้ประชาชนก่อนถึงวัยสูงอายุเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม</p> <p>ด้วยการสังเคราะห์องค์ความรู้ร่วมกับการบูรณาการศาสตร์ทฤษฎีทางสังคม เสมือนสะพานเชื่อมให้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังความฉลาดรู้ทางการเงินที่ต้องมีการปลูกฝังถ่ายทอดตั้งแต่ยังเป็นเยาวชน ค่อยๆสะสมตามช่วงเวลาในตัวบุคคคลเสมือนเป็นการสะสมทุนมนุษย์(Human Capital) ในมุมมองของทฤษฏีเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการพัฒนา และการสร้างให้เกิดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ดีทางการเงิน เป็นความคุ้นชินในลักษณะนิสัยหรือ นิจภาพ (Habitus) สร้างให้เกิดวินัยแห่งตน (Discipline) ในมุมมองของทฤษฏีว่าด้วยการปฏิบัติ ของผู้มีความฉลาดรู้ทางการเงิน และแสดงออกมาเป็น ความรู้ทางการเงิน (Financial Knowledge) ทักษะทางการเงิน (Financial Skills) เจตคติทางการเงิน (Financial Attitude) และพฤติกรรมทางการเงิน (Financial Behavior) การบูรณาการศาสตร์ต่อยอดทฤษฎีทางสังคมจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการเรียนรู้ การเข้าใจสังคม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในตัวบุคคลเพื่อเตรียมความพร้อมในสังคมแห่งผู้สูงอายุที่เผชิญ</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JBURUS/article/view/818
สภาพแวดล้อมการทำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน บริษัท ฮาซเคม โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด
2024-05-12T22:21:10+07:00
อัษฎาวุธ สวัสดิทัศน์
pay.2540@hotmail.com
รักเกียรติ โรจน์กัญญาพร
hart00998877@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการทำงานที่แตกต่างกันจำแนกตามคุณสมบัติ<br />ส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่ส่งผล<br />ต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานระดับพนักงานปฏิบัติการทั่วไปของบริษัท ฮาซเคม โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด กลุ่มตัวอย่างจำนวน 207 ตัวอย่าง ด้วยวิธีกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ซึ่งเป็นพนักงานระดับพนักงานปฏิบัติการทั่วไปทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย One–way ANOVA, Least Significant Difference (LSD) และ Multiple Regression Analysis ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 21-30 ปี มีอายุการทำงาน<br />ในบริษัท 5 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี และทำงานในคลังสินค้าโครงการ Frasers<br />บางนา กม.39 โดยคุณสมบัติส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอายุที่แตกต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกัน ผลจากการวัดระดับความคิดเห็นพบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน ด้านสภาพ<br />การทำงาน และด้านการสั่งการและระเบียบในองค์กร มีอิทธิพลในด้านบวกต่อประสิทธิภาพในการทำงาน<br />และปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน ได้แก่ ด้านความชัดเจนในการปฏิบัติงาน และด้านโอกาสก้าวหน้า<br />ในการทำงาน มีอิทธิพลในด้านลบ ต่อประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อนำข้อมูลไปจัดทำแผนงานด้านทรัพยากรบุคคลในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในบริษัท</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JBURUS/article/view/909
คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของผู้ใช้บริการ บริษัทขนส่งสินค้าในจังหวัดสุพรรณบุรี
2024-07-03T17:28:45+07:00
กฤษณะ หลักคงคา
kriangkrai.sa@spu.ac.th
กฤตยาณี อ่อนเบา
kriangkrai.sa@spu.ac.th
ธนภัทร ขาววิเศษ
thanapat.k@rmutsb.ac.th
โสรยา สุภาผล
soraya_784@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการให้บริการ<br />ของผู้ใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าในจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ และ เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของผู้ใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 214 ราย ทำการสุ่มกลุ่มแบบสะดวก<br />ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว<br />และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ และประสิทธิภาพการให้บริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ และอาชีพที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการให้บริการของผู้ใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าในจังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกัน ส่วนคุณภาพการให้บริการ ได้แก่ ด้านเครือข่ายการให้บริการ และด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของผู้ใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าในจังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br />มีอำนาจการทำนายร้อยละ 73.00 </p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/JBURUS/article/view/985
แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพงานในส่วนวิศวกรรม ด้วยหลัก ECRS ของบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2024-08-05T16:26:32+07:00
อนุวงศ์ ภาคีฉาย
akekartoon@gmail.com
กนกพร ภาคีฉาย
kartoonake@gmail.com
<p>บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการทำงานของส่วนวิศวกรรม 2) วิเคราะห์สาเหตุปัญหาในกระบวนการทำงานของส่วนวิศวกรรม และ 3) สังเคราะห์แนวทางในการป้องกันสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาในกระบวนการทำงานของส่วนวิศวกรรม เพื่อได้แนวทางการปรับปรุงและพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานในส่วนวิศวกรรม ด้วยหลักการ ECRS เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับภาคส่วนวิศวกรรม จำนวน 10 ราย เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการเกิดปัญหา ด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม Why Why Analysis และประชุมกลุ่มย่อยผู้เกี่ยวข้องระดับหัวหน้าส่วนวิศวกรรม จำนวน 10 ราย ด้วยคำถาม 5W1H เพื่อหาแนวทางการแก้ไข และหลัก ECRS ในการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานในส่วนวิศวกรรม (PDCA) </p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัญหาการทำงานของส่วนวิศวกรรม ได้แก่ เรื่อง Drawing ผิดพลาด, เรื่องแบบ Drawing ล่าช้าและการสั่งซื้อวัสดุล่าช้า 2) สาเหตุปัญหาเกิดจาก Man ขาดทักษะ Method กระบวนการการสื่อสาร และการวางแผนงาน Machine เทคโนโลยีของเครื่องมือ/ความผิดพลาดของโปรแกรม Environment ขาดสมาธิในการทำงาน/พนักงานลาป่วยยาว และ 3) แนวทางในการป้องกันสาเหตุ ได้แก่ Man แนวทางการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะของพนักงานส่วนวิศวกรรม Method แนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดปัญหาความล่าช้าของส่วนวิศวกรรม Machine แนวทางการพัฒนาการจัดทำแบบ Drawing ด้วยเทคโนโลยีโปรแกรมเขียนแบบสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านคุณภาพและเวลาของงานส่วนวิศวกรรม และ Environment แนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานวิศวกรรม ส่งผลให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานตามตัวชี้วัดภายใต้กรอบระยะเวลาการประเมิน</p>
2024-08-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ