วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI <p>ISSN: 3027-8228 (Online)</p> <p>วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม (Journal of Business and society innovation)</p> <p>กำหนดออก : 3 ฉบับต่อปี</p> <p>ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน)<br />ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม)<br />ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม)</p> th-TH nattapong.j@mail.rmutk.ac.th (Assistant Professor Dr. Nattapong Jantachalobon) nitirat.m@mail.rmutk.ac.th (Dr.Nitirat Maleewat) Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพของหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/911 <p>การพัฒนาระบบต้นแบบด้านการประกันคุณภาพหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพของหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ เพื่อศึกษาคุณภาพของระบบประกันคุณภาพของหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ และศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งาน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 3 คน กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 30 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในโครงการประกอบไปด้วย ระบบประกันคุณภาพของหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ แบบประเมินระบบประกันคุณภาพของหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ พบว่าอยู่ในระดับดี และผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา พบว่าอยู่ในระดับดีมาก ผลการประเมินความพึงพอใจโดยผู้ใช้งาน พบว่าอยู่ในระดับดีมาก</p> วาสนา ด้วงเหมือน, สุมนา บุษบก, มนัสวี พัฒชนะ, รุ่งโรจน์ แซ่จึง, วุฒิวงศ์ เจียรกิตติกุล, สุรเทพ แป้นเกิด Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/911 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1042 <p> การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 2) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 3) ศึกษาผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยและ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย <br /> แบบแผนการทดลองขั้นต้นคือ กลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง (One Group Pretest – Posttest Design) ประชากร คือ นักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดอนข่อย “คงสมโอษฐ์ราษฎร์บำรุง” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งมีจำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนรวม 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)<br /> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดร่วมกัน มีองค์ประกอบดังนี้ 1. ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย การกำหนดจุดมุ่งหมาย กลุ่มการคิดร่วมกัน เนื้อหา การสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วม 2. กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย การกำหนดงาน การสนทนา การคิดร่วมกัน การสะท้อนความคิด การลงมือปฏิบัติงาน การนำเสนอ และการสรุป 3. ผลผลิต (Output) ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และความพึงพอใจ 4. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ประกอบด้วย คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ 7 องค์ประกอบ และระดับความพึงพอใจ ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดร่วมกัน อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพดีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.61 หรือ ร้อยละ 61 ผลการเปรียบเทียบคะแนนประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.27 ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และผลการรับรองรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีความเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัยและสามารถเผยแพร่ในแวดวงวิชาการได้<br /> ควรนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยในบริบทอื่น ๆ และศึกษาผลในระยะยาว รวมทั้งพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย</p> สุมณฑา ตั้งทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1042 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพยากรณ์เพื่อการสั่งซื้อวัตถุดิบอาหารสด และแนวทางในการคัดเลือก Supplier รายใหม่ กรณีศึกษาธุรกิจร้านอาหารบ้านกลางน้ำ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1000 <p> การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการลดปัญหาวัตถุดิบหมดระหว่างการให้บริการ ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการขาย และเพื่อเป็นแนวทางในการคัดเลือก Supplier รายใหม่ เนื่องจากการสำรวจข้อมูลในการขาย พบว่าบริษัทมีค่าเสียโอกาสในการขายจากปัญหาการสั่งซื้อวัตถุดิบไม่เพียงพอ เมื่อทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาพบว่าเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1) การไม่ทราบความต้องการขายที่แท้จริง 2) การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกรับประทานอาหาร 3) Supplier ไม่มีวัตถุดิบในการจัดส่ง 4) บริษัทฯ มีจำนวน Supplier ในการสั่งซื้อในแต่ละวัตถุดิบน้อยราย ผู้ศึกษาจึงเลือกใช้เครื่องมือ คือ วิธีการพยากรณ์ (Forecasting) เข้ามาช่วยทำการพยากรณ์ยอดขาย เพื่อช่วยในการตัดสินใจสั่งซื้อวัตถุดิบ โดยผู้ศึกษาทำการเก็บข้อมูลในการขายระยะเวลา 10 เดือน พบว่าวัตถุดิบที่มีค่าเสียโอกาสในการสั่งซื้อสูงที่สุด คือ กุ้งแม่น้ำ จึงเลือกวัตถุดิบนี้มาใช้ทำการพยากรณ์ โดยการทำการพยากรณ์จะใช้ 6 วิธีการพยากรณ์ เปรียบเทียบกันจากความผิดพลาด จากการเปรียบเทียบพบว่า วิธี Time Series Decomposition มีค่าต่ำทีสุด จึงเลือกใช้วิธีนี้การทำการพยากรณ์ยอดขายและสั่งซื้อวัตถุดิบ ซึ่งจากการสั่งซื้อวัตถุดิบตามค่าการพยากรณ์ทำให้สามารถลดค่าเสียโอกาสจากการขายได้จริง แต่หลังการปรับปรุงพบว่ายังคงเกิดปัญหาการเสียโอกาสในการขาย ผู้ศึกษาจึงปรับรอบการเช็ค Stock วัตถุดิบเพิ่มเป็น 2 รอบต่อวัน และทำการจัดหา Supplier รายใหม่เพื่อเป็นทางเลือกในการสั่งซื้อวัตถุดิบโดยใช้ AHP Analysis เข้ามาใช้ในการคัดเลือก Supplier ตั้งแต่การกำหนดค่าน้ำหนักของเกณฑ์ในการคัดเลือก และการทำการคัดเลือก Supplier แบบรายคู่ เพื่อหา Supplier ที่เหมาะสมในการสั่งซื้อวัตถุดิบ</p> ญาณิน แจ้งกิจ, ปิยะเนตร นาคสีดี Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1000 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติ การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้า และรูปแบบการดำเนินชีวิต ของผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1002 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติ การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้า และรูปแบบการดำเนินชีวิตผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้ที่ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้ One-way ANOVA โดยผลการวิจัย พบว่า 1) การเปรียบเทียบการรับรู้ของผู้บริโภคนาฬิกาเพื่อสุขภาพด้านทัศนคติ จำแนกตามตราสินค้านาฬิกาเพื่อสุขภาพ พบว่า ผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพที่มีตราสินค้าแตกต่างกันในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ด้านทัศนคติไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านอารมณ์ความรู้สึก ที่มีระดับการรับรู้ด้านทัศนคติที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) การเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้บริโภคนาฬิกาเพื่อสุขภาพ ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า จำแนกตามตราสินค้านาฬิกาเพื่อสุขภาพ พบว่า ผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพที่มีแบนแตกต่างกันในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านคุณลักษณะมีระดับการรับรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) การเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินชีวิตจำแนกตามตราสินค้านาฬิกาเพื่อสุขภาพ พบว่าผู้ใช้งานนาฬิกาเพื่อสุขภาพที่มีแบนแตกต่างกันในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน ยกเว้นด้านความคิดเห็นมีระดับการรับรู้ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> พลอยนภัส อนันต์เดชจิรกุล, กิตติพงษ์ โสภณธรรมภาณ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1002 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1031 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นการวิจัยรูปแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Questionnaires) ผ่าน Google Form ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เคยใช้ Application Microsoft Teams อย่างน้อย 1 ครั้งภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 391 คน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการการยอมรับการใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การตัดสินใจใช้งาน Application Microsoft Teams กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คือ การตระหนักถึงปัญหาหรือความต้องการ (Problem or Need Recognition) ผู้ใช้มีความตั้งใจใช้งาน Microsoft Teams และ 3) ปัจจัยการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน (Perceived Ease of Use) การรับรู้ถึงประโยชน์ (Perceived Usefulness) และการใช้งานจริง (Actual System Use) ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งาน Application Microsoft Teams ในมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ธีระวัฒน์ มุ่งเกิด, ชนะกัญจน์ ศรีรัตนบัลล์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1031 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรม ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าช่องทางออนไลน์และช่องทางออฟไลน์ ในกรุงเทพมหานคร https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1048 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่เลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงการเปรียบเทียบทัศนคติและความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดระหว่างสองช่องทางดังกล่าว กลุ่มประชากรเป้าหมายคือผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านทั้งสองช่องทาง จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกในการเก็บข้อมูล แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.67 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เช่น การทดสอบทีแบบคู่ (Paired t-test) และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรม ทัศนคติ และความพึงพอใจที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยช่องทางออฟไลน์ได้รับการประเมินในเชิงบวกมากกว่าในทุกด้าน ผลการทดสอบสมมติฐานแสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) ในด้านพฤติกรรมการซื้อ (t = -8.734) ทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาด (t = -12.456) และความพึงพอใจ (t = -10.218) ระหว่างช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความพึงพอใจ (r = 0.715, p &lt; .01) ในขณะที่พฤติกรรมการซื้อมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาด (r = 0.587, p &lt; .01) และความพึงพอใจ (r = 0.623, p &lt; .01) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดแบบ Omni-Channel ที่เชื่อมโยงประสบการณ์การซื้อสินค้าผ่านทั้งสองช่องทางอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค</p> ชลิตา ตริยาวนิช, ชุติเดช มั่นคงธรรม, ปรียาภรณ์ ธีรพรเลิศรัฐ, ชิตพงษ์ อัยสานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1048 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 Job Satisfaction Across Different Levels in Human Services Career: Staff, Supervisors, and Managers Levels https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1008 <p>This study examines work satisfaction among professionals in the human services field, focusing on 8 staff members, 10 supervisors, and 4 managers (22 participants). The findings reveal significant differences in satisfaction levels across these roles. Staff members reported low satisfaction with an average score of 2.5, while supervisors were more content with a score of 3.2, especially in understanding their duties and job descriptions. Managers, despite having an overall satisfaction score of 2.86 (all levels of human service), expressed concerns about peer relationships, which received a low score of 1.0, resulting in a lower satisfaction score of 2.75. The OLS regression analysis showed that work satisfaction is strongly influenced by opportunities for both career advancement, and responsibility for performance. This research enhances understanding of work satisfaction within the human services sector by identifying varying levels of satisfaction across staff, supervisors, and managers. It also emphasizes key factors influencing satisfaction and provides practical recommendations for improving employee well-being and engagement.</p> Jirayut Monjagapate, Settanan Wanvoraset Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/1008 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700