คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน ; พนักงาน ; ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานและ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทํางานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ในสำนักงานใหญ่ รวมจํานวน 1,000 คน โดยสุ่มขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 286 คน มีอัตราตอบกลับของกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ 100% ซึ่งการศึกษาได้จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ โดยใช้ค่าที (t-test) และค่าเอฟ(F-test) เพื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แบ่งเป็นรายด้านพบว่า ความภูมิใจในองค์กรอยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน และด้านภาวะอิสระจากงาน มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าการเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน พบว่าพนักงานที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาปฎิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับไม่เกิน 0.05 ยกเว้น ระดับการศึกษา มีระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยควรพิจารณาปรับปรุงเกี่ยวกับค่าตอบแทน เงินรางวัลและเงินโบนัสให้สูงขึ้น ควรพิจารณาปรับปรุงเกี่ยวกับการจัดสรรปริมาณงานให้กับพนักงานอย่างเหมาะสม ควรพิจารณาปรับปรุงเกี่ยวกับการมอบหมายงานที่มีความชัดเจน ตรงต่อความรู้ความสามารถ ควรให้ความสำคัญกับความรู้ ความสามารถของพนักงานแต่ละคน ควรให้ความสำคัญการจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ควรให้ความสำคัญ ติดตามงานที่มอบหมายให้ทำนั้นสำเร็จตามเวลา และควรให้ความสำคัญกับสังคม โดยมีการจัดกิจกรรมทางด้านสังคม ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือสร้างประโยชน์ต่อสังคมกับหน่วยงานอื่น ๆ
References
เฉลิมพล ศรีหงส์.(2565). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา PAD 6102 ระเบียบวิธีวิจัยทาง รัฐประศาสนศาสตร์ ,
โครงการรัฐประศาสนศาสตร์ ภาคพิเศษ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เชี่ยวชาญ อาศุวัฒนกุล. ( 2530 ). คุณภาพชีวิตการทำงานตามแนวทาง HAPPY 8 กรณีศึกษา บริษัท เอเชียพรีซิชั่น จำกัด.
สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ปัทมา ทิมาสรวิชกิจ. คุณภาพชีวิตของพนักงานบริษัท โซแมกซ์ ซินดิเคท จำกัด. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัเกริก.
ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566,จาก https://mis.krirk.ac.th/librarytext/MOA/2561/Pattama_%20%20Timasoravichakit.pdf
แผนกทรัพยากรบุคคล.(2566).ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยสํานักงานใหญ่
พนารัตน์ บุญล้อม. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงาน : กรณีศึกษาของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รายงานประจำปี 2565 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สํานักงานใหญ่ , 2565
วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาล. ดุษฎีนิพนธ์ , มหาวิทยาลัยรามคำแหง
แววนภา สุระพร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ริช บิสซิเนส คอนซัลแทนท์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์) , มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สุมลมาลย์ เตียวโป้. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์การภาครัฐ : กรณีศึกษากระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง.
ดุษฎีนิพนธ์ , มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สุนทรีพร อำพลพร และคนอื่นๆ. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานข้าราชการครู จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 3 (1), 105-114
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.