การแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

ผู้แต่ง

  • อนุชา จินดาวณิชย์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนตําบลบางเดื่อ หมู่ ที่ 2 ตําบลบางเดื่อ อําเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13220

คำสำคัญ:

ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ศาลปกครอง

บทคัดย่อ

            องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มีหน้าที่และอำนาจทางปกครอง ในการใช้อำนาจทางปกครองออกกฎ คำสั่งทางปกครอง การจัดทำบริการสาธารณะตามที่กฎหมายกำหนดหรือมอบหมายให้ทำ รวมทั้งมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจการทางปกครองหรือบริการสาธารณะให้อยู่ในสภาพดี ไม่เป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีข้อพิพาทที่เกิดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เป็นจำนวนมาก บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายจากการละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ซึ่งประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย จากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิฟ้องคดี ต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลปกครองกำหนดคำบังคับสั่งให้หัวหน้าหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติหน้าที่ เพื่อแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อน หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด

 

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2567). แบบประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment: LPA) ประจำปี 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2567/6/2383_6333.pdf

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.740/2555

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.748/2555

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.798/2558

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1948/2558

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1022/2560

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2562). คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

ไชยเดช ตันติเวสส. (2564). หลักปฏิบัติราชการที่ดีจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า. เข้าถึงได้ จาก https://www.tasaba.go.th/news/doc_download/a_200821_132827.pdf

ณัฐพล ใจจริง และกฤษณ์ วงศ์วิเศษธร. (2562). อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528

พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตทางราชการ พ.ศ. 2558

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

สำนักงานวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง. (2561). หลักกฎหมายจากบทความสั้นคดีปกครองที่น่าสนใจ เล่ม 10. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง.

สำนักงานวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง. (2563). หลักกฎหมายจากบทความสั้นคดีปกครองที่น่าสนใจ เล่ม 12. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง.

อำพน เจริญชีววินทร์. (2566). คำอธิบายการฟ้องคดีในศาลปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : นิติธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29

How to Cite

จินดาวณิชย์ อ. . (2024). การแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง. วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม, 1(2), 1–15. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/J-BSI/article/view/978